Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64535
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ลาวัลย์ กลัดสุวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | ดุสิต อธินุวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.author | สุดฤดี ประเทืองวงศ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:12Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:12Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00138_C01075.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64535 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | รวบรวมสายพันธุ์เชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. glycines สาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองจากการเก็บตัวอย่างใบถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่ผลิตที่สำคัญของประเทศไทยทางภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง จำนวน 171 สายพันธุ์ มาวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยการตรวจสอบลักษณะทางด้านสรีระวิทยาและโมเลกุล โดยวิเคราะห์ความสามารถในการก่อโรคบนถั่วเหลืองต่างพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ Williams 82, Spencer, PI520733 และ สจ.5 ภายใต้สภาพเรือนทดลอง และศึกษาระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์ลำดับเบส BOX ไพร์เมอร์ ภายใต้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส พบว่าความสามารถในการก่อโรคบนถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ แบ่งความแตกต่างเชื้อทั้ง 171 สายพันธุ์ ออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์การก่อโรคบนถั่วเหลืองพันธุ์อ่อนแอ พบว่าประชากรสายพันธุ์เชื้อส่วนใหญ่มีความรุนแรงในการก่อโรคในระดับสูง เมื่อนำไปวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์ BOX พบความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของเชื้อไปในทิศทางเดียวกันและสามารถแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของสายพันธุเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ได้เป็น 2 กลุ่มอย่างเด่นชัด โดยปรากฏแถบอนุรักษ์ขนาด 650 bp ในทุกสายพันธุ์เชื้อทดสอบ เมื่อนำมาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่าเป็นส่วนหนึ่งของยีน hrpB จึงนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาไพรเมอร์ที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ซึ่งไพรเมอร์ XagF: 5’ATGGATGCCACCGCACAG3’ และ XagR: 5’GCGTCGAACCGCACATC3’ สามารถตรวจสอบได้เฉพาะเชื้อ X. axonopodis pv. glycines โดยผลิตแถบดีเอ็นเอขนาด 788 bp ได้อย่างถูกต้องและแม่นยา และจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ถือเป็นรายงานแรกที่จำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองที่ถูกต้อง | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ความหลากหลายของเชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. Glycines สาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองและการพัฒนาไพร์เมอร์จำเพาะที่ใช้ในการตรวจสอบ | en_US |
dc.title.alternative | Diversity of Xanthomonas axonopodis pv. glycines, the Causal Agent of Bacterial Pustule of Soybean and Specific Primer for Detection | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 | en_US |
article.stream.affiliations | สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี 12121 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.