Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชวลิต ตนะทิพย์en_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00138_C01074.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64532-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractจากการคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จำนวน 45 ไอโซเลทที่แยกได้จากพืชสมุนไพรและข้าว ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Fusarium moniliforme สาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวไรซ์เบอร์รี พบว่า สามารถคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ได้ 3 ไอโซเลท คือ PRE5, CINv1 และ CEN26 ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 84.80, 82.66 และ 81.85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และในการเก็บสปอร์ที่สร้างบน aerial mycelium ของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่คัดเลือกได้โดยเพิ่มปริมาณบนอาหารสังเคราะห์ IMA-2 และทดสอบวางกระดาษกรองชนิดต่าง ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตรบนผิวหน้าของอาหารเพื่อรองรับ aerial mycelium พบว่า สามารถเก็บสปอร์บนกระดาษชนิด germination test paper ได้ดีที่สุดเฉลี่ยจากทั้ง 3 ไอโซเลท เท่ากับ 4.13 x 109 สปอร์ต่อแผ่น จากนั้นนาแผ่นกระดาษที่รองรับสปอร์ไปทำให้แห้งเพื่อใช้เป็นชีวภัณฑ์และจากการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคถอดฝักดาบในระยะกล้า โดยใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในสปอร์แขวนลอยของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่คัดเลือกได้ใน อัตราการใช้ 1 แผ่นต่อน้ำ 1 ลิตร ก่อนนำไปเพาะปลูก ผลการทดสอบพบว่า ไอโซเลท CINv1 สามารถยับยั้งการเกิดโรคและทำให้ต้นกล้าข้าวมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุดในทุกชุดการทดสอบ สอดคล้องกับผลแยกเชื้อกลับเพื่อตรวจสอบความสามารถในการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ในต้นกล้าข้าวหลังงอก 7 วัน ซึ่งพบว่า ไอโซเลท CINv1 มีเปอร์เซ็นต์การแยกเชื้อกลับในส่วนรากของต้นกล้าข้าวมากที่สุด เท่ากับ 96.15 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleชีวภัณฑ์แอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์แบบกระดาษเพื่อควบคุมโรคถอดฝักดาบ ของข้าวไรซ์เบอร์รีในระยะกล้าen_US
dc.title.alternativePaper Type Bioproduct of Endophytic Actinomycetes for Controlling Bakanae Disease of Riceberry Rice in Seedling Stageen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.