Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจีราภรณ์ อินทสารen_US
dc.contributor.authorฉัตรปวีณ์ เดชจิรรัตนสิริen_US
dc.contributor.authorประวิทย์ บุญมีen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01055.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64522-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของแบคทีเรียที่สามารถผลิต indole-3-acetic acid (IAA) ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารของพริก โดยทำการคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียจากดินในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2558 พบเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด 57 ไอโซเลท โดยมีแบคทีเรีย 15 ไอโซเลท ที่มีความสามารถในการผลิต IAA อยู่ในช่วง 20 ถึง 126 μg/ml จากนั้นทำการคัดเลือก isolate ที่สามารถผลิตสาร indole-3-acetic acid (IAA) ได้สูงที่สุด 6 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท 1-ไอโซเลท 6 นำไปทดสอบกับต้นกล้าพริก โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วยสิ่งทดลอง 7 ตำรับ จำนวน 4 ซ้ำ คือ 1. ตำรับควบคุม (control) ไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์, ตำรับที่ 2-ตำรับที่ 7 ใส่จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตสาร IAA ไอโซเลท 1-6 ตามลำดับ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ Bacillus spp. จากผลการทดลองพบว่าการใช้เชื้อแบคทีเรีย ไอโซเลท 1 (Brevibacillus agri) มีความสามารถในการผลิต IAA ได้สูงที่สุดคือ 126 μg/ml ส่งผลให้มีจำนวนใบต่อต้น ความสูง ความยาวราก น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งทั้งในส่วนเหนือดินและส่วนของราก สูงกว่าตำรับอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การดูดใช้ธาตุอาหารของพริกในตำรับที่มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ ไอโซเลท 1 ทำให้ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ของส่วนเหนือดิน (3.68%N, 0.30%P และ 3.65%K) และส่วนรากมีค่าสูงที่สุด (2.08%N, 0.15%P และ 2.49%K) จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าเชื้อ isolate ที่สามารถผลิตฮอร์โมน IAA ได้ในปริมาณที่สูงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตในด้านสรีระทุก ๆ ด้านของพริกขี้หนูสูงกว่าเชื้อกลุ่มที่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ในปริมาณต่ำen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของแบคทีเรียที่ผลิตสาร Indole-3-Acetic Acid (IAA) ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารของพริกขี้หนูen_US
dc.title.alternativeEffect of Bacteria-producing Indole-3-Acetic Acid (IAA) on Growth and Nutrient Contents of Bird Chili (Capsicum annuum L.)en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290en_US
article.stream.affiliationsศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.