Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64513
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พณิตา สุโข | en_US |
dc.contributor.author | สุทิศา ชัยกุล | en_US |
dc.contributor.author | นงนุช ชนะสิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธนะชัย พันธ์เกษมสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:11Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:11Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00136_C01040.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64513 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulators, PGRs) นิยมนำมาใช้ทางการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของไม้ผลหลายชนิด แต่ยังไม่มีการวิจัยในเงาะ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ที่มีต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ 1) การใช้สาร GA3(0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) 2) การใช้สาร NAA (0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) และ 3) การใช้สาร BS (0, 0.5, 1.0 และ 1.5 มก. /ล.) ฉีดพ่นช่อผลเงาะอายุ 7-9 สัปดาห์ หลังดอกบาน บันทึกผลขนาดของผลเงาะโดยใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) กำหนดลำดับคุณภาพของผลเงาะ ผลการศึกษาพบว่า การใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 75 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีน้ำหนักผลสด และน้ำหนักเนื้อผล มากกว่าการใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 25 และ 50 มก./ล. นอกจากนี้พบว่า การใช้ GA3 ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ความกว้างผล ความหนาเนื้อ ความยาวเมล็ด และน้ำหนักเมล็ดมากกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างอัตราของ GA3 การใช้สาร NAA ที่ระดับความเข้มข้น 25 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีความหนาเนื้อมากกว่าการใช้ NAA ระดับความเข้มข้น 50 และ 75 มก./ล. อย่างไรก็ตาม การใช้ GA3 และ NAA ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นไม่ทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 1 ได้ โดยอยู่ในชั้นคุณภาพลำดับเดียวกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้น ทำให้ผลเงาะมีความกว้างผล ความยาวเมล็ด ความหนาเนื้อผล ความหนาเปลือก น้ำหนักผลสด น้ำหนักเนื้อผล และน้ำหนักเปลือก มากกว่าการไม่ใช้สาร BS แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างอัตราของ BS อย่างไรก็ตาม การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นไม่ทำให้ขนาดและน้ำหนักของผลเงาะด้านดังกล่าวแตกต่างกัน และพบว่าการใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 1 ในขณะที่กรรมวิธีที่ไม่ได้ใช้สารทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 2 นอกจากนี้พบว่า สาร BS มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความยาวผล น้ำหนักผล และน้ำหนักเนื้อผลของผลเงาะได้มากกว่าสาร GA3 และสาร NAA | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of GA3, NAA and Brassin-like Substance (BS) on Size and Weight of Rambutan Fruit (Nephelium lappaceum L. cv. Rongrian) | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 33 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.