Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64508
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณัฏฐวุฑท์ กุตระแสง | en_US |
dc.contributor.author | ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล | en_US |
dc.contributor.author | นิวัฒน์ มาศวรรณา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:11Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:11Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00136_C01047.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64508 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | มะเขือเทศจัดเป็นพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย จังหวัดสกลนครมีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในขณะเดียวกันในการผลิตมะเขือเทศนั้นมีโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากตามไปด้วยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในจังหวัดสกลนครจำนวน 186 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเข้าร่วมฝึกอบรมทางการเกษตร (เชิงบวก) และพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ (เชิงลบ) และปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ จำนวนรุ่นที่ปลูกมะเขือเทศ (เชิงบวก) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางการเกษตรและเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวให้ทั่วถึง มีการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกร โดยเน้นไปที่เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศจำนวนมาก และเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศหลายรุ่นในรอบปี | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร | en_US |
dc.title.alternative | Pesticide Application Behaviors in Tomato Production of Farmers in Sakon Nakhon Province | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 33 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.