Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64504
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชูชาติ สันธทรัพย์en_US
dc.contributor.authorกนกวรรณ นพพรรณen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00136_C01046.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64504-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกข้าวโพด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ และ 6 กรรมวิธีทดลอง ซึ่งประกอบไปด้วยอัตราการใส่ปุ๋ย (1) ปุ๋ยละลายช้า 75 กก./ไร่ (2) ปุ๋ยละลายช้า 100 กก./ไร่ (3) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 75 กก./ไร่ (4) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ (5) ปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ และ (6) ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปุ๋ยละลายช้าทุกกรรมวิธีไม่ได้ทำให้ความสูงของต้นข้าวโพด แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมีธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยละลายช้าตามกรรมวิธีที่ 1 ในอัตรา 75 กก./ไร่ (ใส่ 2 ครั้ง รองพื้นด้วย 13-10-20, 25 กก./ไร่ และที่ระยะ 30 วันหลังปลูกด้วย 25-15-0, 50 กก./ไร่) ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดา (20-10-10) ในอัตรา 100 กก./ไร่ (รองพื้น 50 กก. ที่ระยะ 20 วันหลังปลูก 25 กก. และ ที่ระยะ 40 วันหลังปลูก 25 กก.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใส่ปุ๋ยละลายช้าทั้ง 4 กรรมวิธี ไม่ทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ (น้ำหนัก 100 เมล็ด อัตราการงอก และดัชนีการงอก) ต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดาที่อัตรา 100 กก./ไร่ ซึ่งจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยละลายช้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเมล็ดพันธุ์อาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านคุณสมบัติของปุ๋ยละลายช้า ทำให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย และลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeEffects of Slow-release Fertilizer on Growth, Yield, and Seed Qualities of Field Corn in Tak Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.