Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัตนา ม่วงรัตน์en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ เรือนหล้าen_US
dc.contributor.authorธัญชนก กันทวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00135_C01037.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64503-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาการสกัดสารแอนโธไซยานินทั้งหมดจากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติพบว่าปัจจัยในการสกัดได้แก่ อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำ (1:2, 1:3, 1:5, 1:6 และ 1:9) อุณหภูมิในการสกัด (65, 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส) และเวลาในการสกัด (15, 30, 45 และ 60 นาที) มีผลต่อความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เมื่ออัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเปลี่ยนจาก 1:2 เป็น 1:3 และอุณหภูมิการสกัดเพิ่มจาก 65 เป็น 100 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จะมีค่าสูงขึ้นและสูงกว่าที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:5, 1:6 1:9 ตามลำดับ และสูงกว่าเมื่ออุณหภูมิการสกัดเท่ากับ 120 องศาเซลเซียส สำหรับเวลาในการสกัด 15, 30 และ 45 นาที ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดเหล่านี้มีค่าสูงกว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้ที่เวลาสกัด 60 นาที งานวิจัยนี้พบว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 374.70  6.96 มิลลิกรัมสมมูลย์ของไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ต่อลิตร เมื่อสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการสกัด 15 นาที นอกจากนี้สภาวะความเป็นกรดด่าง และเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อความคงตัวของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้ เมื่อสภาวะความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่ำ) และเวลาในการเก็บรักษาสั้น สารแอนโธไซยานินจะมีความคงตัวมากกว่าที่สภาวะความเป็นกรดต่ำ (ค่า pH สูง) และเวลาในการเก็บรักษานาน โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่สภาวะการสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิและเวลาในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และ 15 นาที ตามลำดับ ที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระดีพีพีเอซ ที่ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าประมาณ 10.9 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรของสารสกัด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำกว่าสารละลายมาตรฐานกรดแอสคอร์บิกประมาณ 7.27 เท่าen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Anthocyanins Extracted from Dried Kernels of Purple Waxy Corn Using Subcritical Water Extraction Technique and Antioxidant Activity of Extracten_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50100en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.