Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดุจฤดี ปานพรหมมินทร์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:10Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00135_C01035.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64500-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณยีนไวเทลโลจีนิน (vitellogenin; VTG) บางส่วน สาหรับการศึกษาระดับการแสดงออกของยีนตามฤดูกาล และดัชนีความสมบูรณ์เพศ (gonadosomatic index; GSI) ของปลาหมอช้างเหยียบเพศเมียที่รวบรวมได้จากกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยนาเนื้อเยื่อตับของปลาเพศเมียมาเพิ่มปริมาณยีน VTG ด้วยเทคนิค Reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณยีน VTG ชนิด Ab ได้ โดยมีความยาว 320 คู่เบส ด้วยไพรเมอร์ VF1 และ VR1 และจากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของยีน VTG ทั้งสามชนิด ได้แก่ Aa, Ab และ C ของปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆ ด้วยการสร้างแผนภูมิต้นไม้ พบว่า สามารถแบ่งปลาออกเป็น 3 กลุ่มตามชนิดของยีน VTG และยีน VTG ที่เพิ่มปริมาณได้ของปลาหมอช้างเหยียบถูกจัดอยู่ในกลุ่มของยีน VTG ชนิด Ab เมื่อศึกษาระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG และ GSI ของปลาหมอช้างเหยียบ พบว่า ค่าทั้งสองนี้มีระดับสูงสุดใน 2 ช่วงเวลา คือ ในเดือนกรกฎาคมและมกราคมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) แสดงให้เห็นว่า ปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยาสามารถวางไข่ได้มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG และ GSI ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า ระดับการแสดงออกของยีน VTG มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่า GSI อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (rs = 0.58; P<0.01) จากผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า นอกจากการใช้ค่า GSI แล้ว ยังสามารถใช้ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG ในการบ่งบอกถึงฤดูกาลวางไข่ของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยาได้อีกด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeSeasonal Expression Lavels of Vitellogenin Gene and Gonadosomatic Index in Pristolepis fasciata in Kwan Phayao, Phayao Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จ. พะเยา 56000en_US
article.stream.affiliationsศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สานักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพฯ 10900en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.