Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64499
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณปภพ แก้วกันทา | en_US |
dc.contributor.author | คุณาศักดากุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:10Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:10Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00136_C01044.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64499 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | จากการแยกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จากข้าว (Oryza sativa L.) บนอาหาร inhibitory mold agar 2 (IMA-2) สามารถแยกเชื้อได้ทั้งหมด 174 ไอโซเลท แบ่งกลุ่มไอโซเลทตามระยะเวลาในการเริ่มสร้าง aerial mycelium และการเจริญเต็มจานอาหาร และคัดเลือกไอโซเลทที่มีการเริ่มสร้าง aerial mycelium ภายใน 1 วัน และเจริญเต็มจานอาหาร ภายใน 3 วัน จำนวน 10 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคไหม้ของข้าว ด้วยวิธีการ dual culture พบว่า ไอโซเลท ORR107 และ ORR719 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคได้สูงที่สุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 78.35 และ 74.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ ไอโซเลท ORP119, ORR721, ORS110, ORR175, ORR728, ORR737, ORR162 และ ORP123 โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 70.00, 69.17, 65.00, 61.67, 60.00, 55.84, 50.00 และ 48.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ ไอโซเลท ORR107 และ ORR719 จึงถูกนำมาใช้ในการควบคุมโรคไหม้ของข้าวในต้นกล้าข้าว ด้วยวิธีการแช่เมล็ดข้าวในสปอร์แขวนลอยของแต่ละไอโซเลท ที่ความเข้มข้น 1 x 109 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 1 วัน เมื่อต้นกล้าข้าวอายุ 14 วัน ทำการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นประเมินความรุนแรงในการเกิดโรคหลังจากบ่มเชื้อ เป็นเวลา 7 วัน พบว่า ไอโซเลท ORR719 และ ORR107 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไหม้ของข้าวได้ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการเกิดโรคเท่ากับ 1.20 และ 1.47 ตามลำดับ แตกต่างจากชุดควบคุมที่ปลูกเชื้อราสาเหตุโรคเพียงอย่างเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการเกิดโรคเท่ากับ 4.73 นอกจากนี้การทดสอบความสามารถในการเข้าอาศัยในเนื้อเยื่อต้นกล้าข้าว โดยวิธีการแช่เมล็ด และแยกเชื้อกลับที่ระยะเวลา 1, 3, 5, 7 และ 14 วัน หลังการออกปลูก พบว่า ทั้งสองไอโซเลทสามารถเข้าอยู่อาศัยในเนื้อเยื่อต้นกล้าข้าวได้ทั้งในส่วนของใบ ราก และเปลือกเมล็ดข้าว โดยมีเปอร์เซ็นต์การแยกเชื้อกลับอยู่ในช่วง 40-90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ไอโซเลท ORR107 สามารถเพิ่มปริมาณในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาหลังการปลูกเชื้อ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ศักยภาพการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่แยกจากข้าวในการควบคุมโรคไหม้ของต้นกล้าข้าว | en_US |
dc.title.alternative | Antagonistic Potential of Endophytic Actinomycetes Isolated from Rice to Control Rice Seedling Blast | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 33 | en_US |
article.stream.affiliations | สาขาวิชาโรคพืช ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.