Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64478
Title: การวิเคราะห์หาสารสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้บางชนิด
Other Titles: Analyses of Bioactive Ingredients and Antioxidant Activities of Some Edible Flowers
Authors: พสุธร อุ่นอมรมาศ
สรณะ สมโน
Authors: พสุธร อุ่นอมรมาศ
สรณะ สมโน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์หากลุ่มสารสำคัญ กิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสาร ฟีนอลิกทั้งหมดจากสารสกัดของดอกไม้ไทยที่บริโภคได้จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea hybrid) ดอกเข็ม (Lxora chinensis Lamk) ดอกพุดซ้อน (Gardenia jasminoides Ellis) และดอกกุหลาบมอญ (Rosa damascene) ด้วยการสกัดด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล จากนั้นนามาจำแนกกลุ่มสารสำคัญด้วยวิธีโครมาโตกราฟฟีแผ่นบาง (TLC) และทำการวิเคราะห์หาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picryhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay, Trolox-Equivalent Antioxidant Capacity (TEAC) และปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด จากผลการทดลองพบว่าการสกัดด้วยเมทานอลให้ปริมาณผลผลิตของสารที่สกัดได้สูงที่สุดร้อยละ 8-12 และการจำแนกสารสาคัญด้วยวิธีโครมาโตกราฟฟีแผ่นบาง (TLC) พบสารสาคัญในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์และสารประกอบฟีนอลิกในสารสกัดของดอกไม้ทุกชนิดที่สกัดด้วยเมทานอล สารสกัดเมทานอลจากดอกกุหลาบมอญ ดอกเข็มและดอกดาวเรืองมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงถึงร้อยละ 90 และสารสกัดเมทานอลจากดอกไม้ทั้ง 5 ชนิดมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี TEAC สูงถึงร้อยละ 90 มากกว่าสารกัดเฮกเซน และ ไดคลอโรมีเทนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับสาร trolox ประมาณ 17 มิลลิกรัมต่อตัวอย่าง 1 กรัม ส่วนสารสกัดเมทานอลจากดอกกุหลาบมอญมีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด (31.91 mg gallic acid equivalents/ g sample) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดอกไม้ที่นามาทดสอบชนิดอื่น ๆ (p<0.05)
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01022.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64478
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.