Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอนันทิตา แสงสุริยวงษ์en_US
dc.contributor.authorมารุจ ลิมปะวัฒนะen_US
dc.contributor.authorดาลัด ศิริวันen_US
dc.contributor.authorภัสราภา แก้วเนินen_US
dc.contributor.authorวรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01021.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64477-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มความคงตัวให้กับแอสตาแซนทินธรรมชาติที่สกัดได้จากเปลือกกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) โดยใช้เทคโนโลยีการกักเก็บด้วยไลโพโซม ซึ่งเตรียมจากฟอสโฟลิพิดที่มีปริมาณความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ (0.8, 1.6 และ 2.0%w/v) และทาการปั่นผสมด้วยวิธีที่ต่างกัน 2 วิธี คือวิธีโฮโมจิไนเซชันและวิธีโซนิเคชัน สารสกัดแอสตาแซนทินในไลโพโซมที่ได้นำไปวิเคราะห์สมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการกักเก็บ (%EE) ประสิทธิภาพในการเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ (ประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูล DPPH และประสิทธิภาพการจับโลหะ) ลักษณะโครงสร้างของไลโพโซมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและการเปลี่ยนแปลงของสารสกัดแอสตาแซนทินในไลโพโซมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ค่า %EE ของไลโพโซมที่เตรียมจากฟอสโฟลิพิดความเข้มข้น 2.0%w/v ที่ปั่นผสมด้วยวิธีโซนิเคชัน ให้ %EE ลดลงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวันเริ่มต้น สำหรับประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูล DPPH และในด้านประสิทธิภาพการจับโลหะของสารสกัดแอสตาแซนทินที่ไม่ได้กักเก็บในไลโพโซมพบว่ามีประสิทธิภาพลดลงถึง 76.7% และ 56% ตามลำดับ ซึ่งลดลงมากกว่าสารสกัดแอสตาแซนทินที่กักเก็บในไลโพโซมในทุกตัวอย่างเมื่อเทียบกับวันเริ่มต้น นอกจากนี้โครงสร้างภายใต้กล้อง TEM ของไลโพโซมที่ปั่นผสมด้วยวิธีโซนิเคชันมีลักษณะเป็นโครงสร้างที่เรียงตัวซ้อนกัน ซึ่งจากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การกักเก็บด้วยเทคนิคไลโพโซมนั้นสามารถช่วยป้องกันและรักษาสมบัติของแอสตาแซนทินได้เพื่อการนาไปใช้ต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของความเข้มข้นของฟอสโฟลิพิดและวิธีการปั่นผสมต่อสมบัติของสารสกัดแอสตาแซนทินที่กักเก็บในไลโพโซมen_US
dc.title.alternativeEffects of Phospholipid Concentration and Mixing Methods on Properties of Astaxanthin Extract-loaded Liposomesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160en_US
article.stream.affiliationsสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900en_US
article.stream.affiliationsกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้า กรมประมง 50 เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ 10900en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.