Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64459
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาวดี ขุนทองจันทร์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:08Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:08Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=133&CID=1003en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64459-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractพริกหัวเรือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี หากเกษตรกรรักษามาตรฐานการปลูก จะทำให้มีรายได้ในระยะยาว การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกพริกแบบปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกพริกแบบปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีประสบการณ์ในการปลูก และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือจำนวน 150 คน ระยะเวลาของการศึกษา 8 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ในเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้ค่า F-test (one way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือมีการดำเนินการตามมาตรฐานมากที่สุดคือ ไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากคนในแปลงพริก (xˉ =3.85 ) รองลงมาเมื่อจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรจะปฏิบัติตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร (xˉ = 3.82 ) และ (2) เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกที่แตกต่างกัน มีการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกแตกต่างกัน 2 ข้อ คือ ข้อ 3 เมื่อจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรจะปฏิบัติตามคําแนะนําของ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือตามคําแนะนําในฉลากอย่างเคร่งครัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูก 20 ปี มีการดำเนินการมากกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกต่ำกว่า 10 ปีและมีประสบการณ์ในการปลูกระหว่าง 11-20 ปี และ ข้อ 4 เมื่อมีการระบาดของศัตรูพืชในแปลงพริกต้องป้องกัน กำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกมากกว่า 20 ปี มีการดำเนินการตามมาตรฐานมากกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกระหว่าง 11-20 ปี สำหรับการเปรียบเทียบเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการดำเนินการตามมาตรฐานทุกข้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeFarmers’ Capacity Building on Production of Save Local Chilli Variety Haurue, in Ubon Ratchathani Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.