Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัตนา ขามฤทธิ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00129_C00960.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64441-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนีคื้อ ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดแคลลัสและต้นอ่อนของข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและข้าวพันธุ์พญาลืมแกง และตรวจสอบการทนเค็มของข้าวทั้งสองสายพันธุ์ในสภาพหลอดทดลอง เมื่อนำเมล็ดข้าวที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อ เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร Murashige and Skoog (MS) ที่เติม 2,4-D และ NAA ที่ความเข้มข้นระดับต่าง ๆ พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำเมล็ดข้าวให้เกิดแคลลัสในข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง คือ สูตรอาหาร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แคลลัสมีน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด 111.00 มิลลิกรัม ส่วนข้าวพันธุ์พญาลืมแกง คือ สูตรอาหาร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แคลลัสมีน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด 148.00 มิลลิกรัม เมื่อย้ายแคลลัสไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA, NAA และน้ำมะพร้าว ที่ความเข้มข้นระดับต่าง ๆ พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้แคลลัสข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงเกิดต้น คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BAความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีจำนวนต้นเฉลี่ยต่อแคลลัส 6.0 ต้น ส่วนสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้ข้าวพันธุ์พญาลืมแกง เกิดต้นได้ดี คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีจำนวนต้นเฉลี่ยต่อแคลลัส 4.8 ต้น เมื่อนำต้นอ่อนข้าวสองสายพันธุ์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม NaCl ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ต้นอ่อนข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและพันธุ์พญาลืมแกง มีอัตราการรอดชีวิตที่ลดลงเมื่อความเข้มข้น NaCl เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของต้นอ่อนข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง และพญาลืมแกง พบว่าความเข้มข้นสูงสุดของ NaCl ที่ต้นข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง และพญาลืมแกงทนได้คือ 1 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นต้นข้าวพันธุ์พญาลืมแกง จึงทนต่อความเค็มได้ดีกว่าต้นข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleแนวโน้มการทนเค็มของข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและพญาลืมแกงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อen_US
dc.title.alternativeTendency of Salt Tolerance in Siw Gliang and Paya Luem Kaeng Rice Cultivars Derived from Tissue Culture Plantletsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume31en_US
article.stream.affiliationsคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.