Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64434
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุลen_US
dc.contributor.authorศราวิชญ์ สายมงคลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00129_C00964.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64434-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 เพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani เมื่อแยกและรวบรวบเชื้อราสาเหตุจากแปลงทดลองปลูกข้าวของสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้จำนวน 4 ไอโซเลท คือ RSLPN-1, RSLPN-2, RSLPN-3 และ RLSPN-4 นำมาทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. megaterium ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) โดยวิธี dual culture เป็นเวลา 4 วัน พบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani แต่ละไอโซเลทได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 41.65, 26.78, 26.08 และ 42.35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบด้วยวิธี pour plate พบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani ไอโซเลท RSLPN-2 และ RSLPN-4 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ปลายเส้นใยของเชื้อรา R. solani จากวิธีการทดสอบทั้ง 2 วิธี มีลักษณะผิดปกติเหมือนกัน จากนั้นทดสอบการควบคุมโรคกาบใบแห้งที่เกิดจากเชื้อรา R.solani ไอโซเลท RSLPN-4 โดยวิธีการพ่นชีวภัณฑ์เชื้อ B. megaterium ในสภาพเรือนทดลอง พบว่า ชีวภัณฑ์ดังกล่าวสามารถลดความรุนแรงของโรคกาบใบแห้งได้แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. megaterium สามารถควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 ในสภาพห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6en_US
dc.title.alternativeEfficiency of Antagonistic Bacterium Bacillus megaterium Strain No.16 for Controlling Sheath Blight Disease of RD6 Rice Varietyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume31en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.