Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64428
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเผ่าไท ถายะพิงค์en_US
dc.contributor.authorปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:07Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=128&CID=955en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64428-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้กับดักดัดแปลงร่วมกับสารล่อ CMU-C1 และการสุ่มสำรวจนับด้วยตาเปล่า ผลการศึกษาพบแมลงทั้งหมด จำนวน 8 อันดับ 35 วงศ์ โดยมีแมลงที่มีจำนวนประชากรแมลงที่สำรวจได้มากที่สุด คือ วงศ์ Coccidae (อันดับ Hemiptera), วงศ์ Formicidae (อันดับ Hymenoptera), วงศ์ Scolytidae, Anthribidae และ Nitidulidae (อันดับ Coleoptera) และพบจำนวนแมลงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งมากที่สุดและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่นน้อยที่สุด ในการศึกษาครั้งนี้พบแมลงศัตรูที่สำคัญของกาแฟอราบิกา 2 ชนิด คือ มอดเจาะผลกาแฟ Hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) และเพลี้ยหอยสีเขียว Coccus viridis (Green) (Hemiptera: Coccidae) นอกจากนี้พบจำนวนประชากรมอดเจาะผลกาแฟในกับดักสูงสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ในทุกพื้นที่ ความสัมพันธ์ของจำนวนประชากรของมอดเจาะผลกาแฟกับอุณหภูมิพบว่ามีแนวโน้มความสัมพันธ์ในเชิงบวก ในการทดลองครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลจำนวนประชากรของแมลงศัตรูเชิงพื้นที่และสร้างแผนที่การระบาดของมอดเจาะผลกาแฟของแต่ละพื้นที่พบว่า เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 พบจำนวนมอดเจาะผลกาแฟน้อยมากในทุกพื้นที่สำรวจ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จำนวนของมอดเจาะผลกาแฟเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีจำนวนประชากรสูงทั้ง 4 พื้นที่ และพบว่าจำนวนมอดเจาะผลกาแฟพบมากในแปลงกาแฟที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งมากที่สุดและพบในจุดวางกับดักบริเวณขอบแปลงกาแฟก่อนเสมอen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายen_US
dc.title.alternativeGeo-information Technology Application for Studying Species Diversity and Distribution of Arabica Coffee Insect Pests in Chiang Mai and Chiang Rai Provincesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume31en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.