Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิเชต พลายเพชร | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:06Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:06Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=127&CID=945 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64407 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การแทนที่ Chaetoceros spp. ด้วย Schizochytrium spp. หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีกรดไขมันกลุ่ม Highly unsaturated fatty acid (HUFA) ในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไมวัยอ่อนประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน แต่การใช้ร่วมกันของอาหารเหล่านี้กับ Chaetoceros spp. ทำให้ลูกกุ้งมีอัตรารอดดีกว่าการใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดนี้เพียงอย่างเดียว ส่วนการเสริมกรดไขมันกลุ่ม HUFA ให้แก่แพลงก์ตอนสัตว์ เช่น ไรแดงและโรติเฟอร์ ทำให้สามารถใช้แทนที่อาร์ทีเมียวัยอ่อนได้ทั้งหมด ขณะที่การแทนที่ด้วยอาหารสำเร็จรูปทั้งหมดก็สามารถทำได้เช่นกันหากอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการที่ใกล้เคียงกับอาร์ทีเมียวัยอ่อนที่เสริมด้วยกรดไขมัน HUFA อาหารสำเร็จรูปสำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมวัยรุ่นจนถึงขนาดตลาดควรมีโปรตีน ไขมัน ผลรวมของ EPA และ DHA เลซิติน คอเลสเตอรอลและแอสต้าแซนทิน เท่ากับ 30-40%, 6-8%, 0.25%, 3.0%, 0.4% และ 50 ppm ตามลำดับ สามารถใช้แหล่งโปรตีนชนิดอื่นแทนที่ปลาป่นได้ทั้งหมดหากสูตรอาหารกุ้งชนิดนี้มีการใช้ปลาป่นน้อย เช่น 8-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีอาหารธรรมชาติเกี่ยวข้อง เช่น การเลี้ยงบ่อดิน การแทนที่น้ำมันปลาทะเลด้วยแหล่งไขมันชนิดอื่นสามารถทำได้ในอัตราสูงหรือทั้งหมดหากอาหารยังคงมีกรดไขมันจำเป็น เช่น ARA EPA และ DHA ที่เพียงพอต่อความต้องการของกุ้ง อีกทั้งสามารถลดน้ำมันปลาทะเลในสูตรอาหารได้โดยการใช้ Schizochytrium spp. และ Mortierella spp. ซึ่งเป็นแหล่งของ DHA และ ARA ตามลำดับ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การจัดการทางโภชนาการสำหรับการอนุบาลและ การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม | en_US |
dc.title.alternative | Nutritional Management for Nursing and Culturing Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 31 | en_US |
article.stream.affiliations | สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง จ.พระนครศรีอยุธยา 13290 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.