Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64390
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:05Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:05Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=125&CID=918 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64390 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | ดำเนินการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (randomized complete block designs, RCBD) มี 6 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี (control) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร (farmer, F) กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีที่สอดคล้องกับการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (site-specific fertilizer management, SSF) และ กรรมวิธีที่ 4 และ 5 การใส่ปุ๋ยเคมีเป็น 2 และ 3 เท่าของค่าการใช้ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ (2SSF และ 3SSF ตามลำดับ) ผลการทดลอง พบว่า จำนวนต้นต่อกอที่อายุ 30 วันและความสูงที่อายุ 50 วัน ของข้าวที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (P<0.05) สำหรับที่อายุ 50 วัน ต้นข้าวในกรรมวิธี 3SSF มีค่าเฉลี่ยจำนวนต้นต่อกอสูงที่สุดเป็น 14.25 ต้นต่อกอ ไม่แตกต่าง (P>0.05) กับกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรซึ่งมีค่าเป็น 14.03 ต้นต่อกอ แต่ทั้งสองกรรมวิธีให้ค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา SSF และ 2SSF ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวง และผลผลิตข้าว กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา F ให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เป็น 99.38 เมล็ดต่อรวง และ 1,195.25 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม SSF, 2SSF และ 3SSF การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา SSF ให้ค่าประสิทธิภาพการผลิตข้าว และรายได้หลังหักค่าปุ๋ยสูงที่สุด ดังนั้น ในการปลูกข้าวปทุมธานีในชุดดินสรรพยาควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยในอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา | en_US |
dc.title.alternative | Site-specific Fertilizer Management on Growth, Yield, and Agronomic Nitrogen Use Efficiency of Rice Grown in Sapphaya Soil Series | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 30 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.