Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณพร ทะพิงค์แกen_US
dc.contributor.authorสุรีรัตน์ ถือแก้วen_US
dc.contributor.authorมงคล ยะไชยen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:05Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=125&CID=922en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64384-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractเห็ดสกุลนางรมสามารถเจริญได้ดีบนวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร ด้วยความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยต่าง ๆ ได้แก่ เซลลูเลส เฮมิเซลลูเลส และเอนไซม์ย่อยลิกนิน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดนางรมต่อค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในอาหารไก่เนื้อ อาหารทดลองแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 อาหารพื้นฐาน (CON) กลุ่ม 2-3 อาหารพื้นฐานเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยทางการค้าชนิดที่ 1 และ 2 ที่ระดับกิจกรรมของเอนไซม์เอนโดกลูคาเนสเท่ากับ 500 ยูนิตต่อกิโลกรัมอาหาร (CFE1 และ CFE2) กลุ่ม 4-6 อาหารพื้นฐานเสริมวัสดุเพาะเห็ดนางรมที่ระดับกิจกรรมของเอนไซม์เอนโดกลูคาเนส 250, 500, และ 1,000 ยูนิตเอนโดกลูคาเนสต่อกิโลกรัมอาหาร (SMS 0.5×, SMS 1×, และ SMS 2×) วัสดุเพาะเห็ดมีกิจกรรมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหลายชนิด ได้แก่ เซลลูเลส (549.6 และ 615.94 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) ไซแลนเนส (90.75 และ 101.71 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) และ เอนโดกลูแคแนส (496.42 และ 486.14 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) อีกทั้งวัสดุเพาะเห็ดยังมีกิจกรรมของแลคเคสและโปรตีเอสมากกว่าเอนไซม์ย่อยเยื่อใยทางการค้าทั้ง 2 ชนิด (P < 0.05) การเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยปรับปรุงค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะเมื่อเทียบกับอาหารสูตรพื้นฐาน (P < 0.05) อาหารสูตร SMS 1× และ SMS 2× มีค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะสูงกว่าอาหารสูตร CFE1 และ CFE2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สามารถสรุปได้ว่าวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดนางรมมีศักยภาพสำหรับเป็นแหล่งของเอนไซม์ที่เสริมในอาหารสัตว์en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของเอนไซม์ย่อยเยื่อใยโดยรวมจากวัสดุเพาะเห็ดนางรมต่อค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในอาหารไก่เนื้อen_US
dc.title.alternativeEffects of Crude Fibrolytic Enzymes from Pleurotus ostreatus Spent Mushroom Substrate on the In vitro Digestibility and Nutrient Utilization of Broiler Dieten_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume30en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.