Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64376
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรวัฒน์ สีทองen_US
dc.contributor.authorมณีฉัตร นิกรพันธุ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=125&CID=916en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64376-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการประเมินผักกาดเขียวปลีลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 7 พันธุ์ และเปรียบเทียบกับ พันธุ์พ่อแม่ พันธุ์การค้า วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก มี 3 ซ้ำ ทดสอบในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ามีผลผลิตเฉลี่ย 2,016 ถึง 4,435 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ พันธุ์ 2M ส่วนพันธุ์ BC9(4-4 x 2M) ที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ผสมกับพ่อพันธุ์ 4OR ให้ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC9(4-4x2M) x 4OR ที่มีผลผลิตสูง 3,468 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ BC9(4-3x19H) x 2M BC9(4-4x 4OR) x 19H9 BC9(4-4x 4OR)x2M และ BC11(4-4x4OR)x2M มีน้ำหนักปลีเฉลี่ย 350 ถึง 450 กรัมต่อหัว ซึ่งเป็นน้ำหนักหัวที่เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูป ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เปอร์เซ็นต์การตัดแต่งไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติและการศึกษาความดีเด่นของผักกาดเขียวปลีลูกผสมชั่วที่ 1 ลูกผสมชั่วที่ 1 ส่วนใหญ่มีความดีเด่นของลูกผสมระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อ-แม่ ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC9(4-4x4OR)x19H9 มีความดีเด่นของลูกผสม ในด้านของน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ น้ำหนักปลีก่อนตัดแต่ง น้ำหนักปลีหลังตัดแต่ง เปอร์เซ็นต์การตัดแต่ง และอัตราส่วนของลำต้นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 16.7, 33.5, 16.7, 17.8 และ 21.9 ตามลำดับ ความแน่นของปลีและอัตราส่วนของหัวแสดงออกในทางบวก ซึ่งมีค่าความดีเด่น 42.5 และ 1.6 ตามลาดับ และความดีเด่นของลูกผสมที่เหนือกว่าพ่อหรือแม่ที่ดีที่สุดในด้านผลผลิตต่อไร่ พบว่า พันธุ์ BC11(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x2M BC9(4-3x19H)x2M BC9(4-4x4OR)x19H9 BC9(4-4x2M)x19H9 BC9(4-4x2M)x4OR และ BC11(4-4x4OR)x19H16 แสดงความดีเด่นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 50.6, 50.5, 41.3, 35.1, 27.2, 16.0 และ 13.9 ตามลำดับ ส่วนความดีเด่นเหนือกว่าพันธุ์มาตรฐานหรือพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในด้านผลผลิตต่อไร่ พบว่า ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC11(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x19H9 BC9(4-3x19H)x2M BC9(4-4x2M)x19H9 BC11(4-4x4OR)x19H16 และ BC9(4-4x2M)x4OR แสดงความดีเด่นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 47.4, 47.3, 38.6, 37.5, 31.1, 23.8 และ 16.9 ตามลำดับen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการประเมินพ่อและแม่พันธุ์เพื่อการผลิตลูกผสมชั่วที่ 1 ของผักกาดเขียวปลีen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Male and Female Parents for F1 Hybrid Production of Leaf Mustarden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume30en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50201en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.