Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64360
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุภาณี ด่านวิริยะกุล | en_US |
dc.contributor.author | สุเมธี กิตติพงศ์ไพศาล | en_US |
dc.contributor.author | สมเกียรติ ศีลสุทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | นงเยาว์ จันทราช | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:04Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00119_C00886.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64360 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | ผลจากการสำรวจและวิเคราะห์ชนิดของอาหารของฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมในเขตภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และชานเมืองกรุงเทพมหานคร พบว่า ชนิดของอาหารหยาบที่มีการใช้ในการเลี้ยงแพะทั่วไป ประกอบด้วย หญ้าสด และต้นข้าวโพดทั้งชนิดสดและหมัก บางฟาร์มอาจมีการใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าว กระถิน และกากสับปะรด หรือปล่อยให้แพะแทะเล็มในแปลงหญ้า หญ้าแพงโกลามีปริมาณของวัตถุแห้งที่สูง (31.72 เปอร์เซ็นต์) แต่มีโปรตีน (6.94 เปอร์เซ็นต์) ต่ำกว่าหญ้าขน (18.52 - 22.05 และ 11.62 - 20.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ในขณะที่ต้นข้าวโพดหมักมีปริมาณ CP (8.48 เปอร์เซ็นต์) สูง แต่มี ADF และ NDF ต่ำกว่าเปลือกข้าวโพดหมักเล็กน้อย ส่วนการให้อาหารข้นนิยมใช้จมูกถั่วเหลือง และเปลือกผิวถั่วเหลืองซึ่งนอกจากใช้เป็นแหล่งของโปรตีนแล้วสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งของอาหารหยาบได้อีกด้วย เนื่องจากมีส่วนประกอบของ DM, NDF และ ADF ในปริมาณที่สูง คิดเป็น 89.92, 60.88 และ 45.95 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วน แป้งข้าวและจมูกข้าว กากน้ำเต้าหู้ กากวุ้นเส้น และกากข้าวสาลีหมัก มีการใช้บ้างขึ้นอยู่กับการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งอาจมีการเสริมอาหารข้นสำเร็จรูป จากการเปรียบเทียบปริมาณของสารอาหารที่แพะได้รับ พบว่า อัตราส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบต่ออาหารข้น (R:C) ของอาหารรวมซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 22:78 - 86:14 โดยมีปริมาณสารอาหารที่แพะได้รับในรูปของ DM, CP, EE, CF, NDF, ADF และ NFC ในช่วง 4.00 - 5.84% BW, 10.50 -2 0.35% DMI, 1.26 - 3.78% DMI, 21.70 - 29.42% DMI, 34.31 - 40.04% DMI, 51.50 - 68.55% DMI และ 14.05 - 20.00% ตามลำดับ ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างขององค์ประกอบของน้ำนมแพะ (P>0.05) ซึ่งมีปริมาณไขมัน โปรตีน แลกโทส เถ้า ของแข็งทั้งหมด และของแข็งไม่รวมมันเนยอยู่ในช่วง 3.05 - 4.27, 2.96 - 3.70, 4.39 - 4.86, 0.71 - 0.85, 11.60 - 13.28 และ 8.33 - 9.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แพะที่ได้รับอาหารที่มีสัดส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบในช่วง 40 - 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ำนมสูงกว่าที่ระดับอื่น ๆ (1.33 ±0.32 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน) แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ไม่แสดงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลผลิตที่เกิดจากสัดส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบที่ชัดเจนมากนัก | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | อิทธิพลของรูปแบบการให้อาหารต่อปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมแพะ | en_US |
dc.title.alternative | Influence of Feeding Regimens on Goat Milk Yield and Chemical Composition | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 29 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.