Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรพันธ์ ไชยรินคำen_US
dc.contributor.authorโชค มิเกล็ดen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:04Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00119_C00887.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64358-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาแบ่งเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาคุณค่าทางโภชนะของฝุ่นข้าวโพดและอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดเป็นส่วนผสมระดับต่างกัน 4 ระดับคือ 0, 20, 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยทุกสูตรมี 16 เปอร์เซ็นต์ CP (DM basis) พบว่าฝุ่นข้าวโพดประกอบด้วย DM 88.13 เปอร์เซ็นต์ และมีโภชนะคิดเป็นร้อยละของวัตถุแห้งดังนี้คือ CP 10.93, CF 12.52, EE 4.59, Ash 3.54, NDF 57.79, ADF 15.26 และ ADL 7.86 อีกทั้งการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ทำให้ DM, EE และ ADL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ NDF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาการย่อยสลายของวัตถุแห้งในกระเพาะหมัก โดยใช้ Nylon bag technique พบว่าการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ทำให้ปริมาณการย่อยสลายของวัตถุแห้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 3 การประเมินค่าการย่อยได้และพลังงาน โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊ส พบว่าอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดผสมระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าปริมาตรแก๊สสุทธิ ณ ชั่วโมง 24 และการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ ต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้การเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหารทำให้ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้และพลังงานสุทธิเพื่อการให้นม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 4 ศึกษาด้านสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนการผลิต ของโครุ่นลูกผสมบราห์มัน × พื้นเมือง เพศผู้ ที่ไม่ได้ตอน น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 150 กิโลกรัม จำนวน 16 ตัว โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ให้โคได้รับฟางข้าวเป็นอาหารหยาบแล้วเสริมด้วยอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดในระดับ 0, 20, 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในอัตรา 1.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาทดลอง 90 วัน พบว่าโคที่ได้รับอาหารข้นที่มีการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของการเจริญเติบโต (ADG = 0.21, 0.21, 0.20 และ 0.23 กิโลกรัม ตามลำดับ) อัตราการแลกน้ำหนัก (FCR = 18.49, 19.10, 20.00 และ 17.61 ตามลำดับ) และปริมาณการกินได้คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว (2.70, 2.75, 2.72 และ 2.70 ตามลำดับ) แต่ต้นทุนอาหารต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม (FCG = 67.32, 60.18, 51.69 และ 38.09 บาท ตามลำดับ) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่าสามารถนำเอาฝุ่นข้าวโพดมาเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงโคเนื้อ ได้สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleคุณค่าทางโภชนะและระดับที่เหมาะสมของฝุ่นข้าวโพดจากกระบวนการสีเมล็ดในอาหารโคเนื้อen_US
dc.title.alternativeNutritive Value and Optimum Level of Corn Dust from Seed Milling Process in Beef Cattle Feeden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.