Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64351
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกตุนภัส ศรีไพโรจน์ | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งกานต์ กล้าหาญ | en_US |
dc.contributor.author | พงศ์นรินทร์ เมฆขุนทด | en_US |
dc.contributor.author | ทองอยู่ อุดเลิศ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:03Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:03Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00119_C00889.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64351 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสายพันธุ์ปลานิลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยเป็นการทดลองเลี้ยงปลานิลสามสายพันธุ์ ได้แก่ จิตรลดา 1 จิตรลดา 3 และปลานิลแดง เป็นระยะเวลา 122 วัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึง เมษายน 2555 อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดการเลี้ยงอยู่ระหว่าง 19 - 25 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) เลี้ยงปลาในกระชังขนาด 3.5 x 2.4 x 1.5 เมตร จำนวน 9 กระชัง อัตราปล่อย 24 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ให้อาหาร 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนวันละ 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน (average daily gain; ADG) ของปลานิลจิตรลดา 1 ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลแดง เท่ากับ 0.87 ±0.07, 1.37 ±0.13 และ 1.66 ±0.05 กรัมต่อวัน ตามลำดับ โดยปลานิลแดงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันมากที่สุด อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (specific growth rate; SGR) ของปลานิลจิตรลดา 1 ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลแดง เท่ากับ 1.30 ±0.06, 1.35 ±0.11 และ 1.58 ±0.14 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ปลานิลจิตรลดาทั้ง 2 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะต่ำกว่าปลานิลแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (feed conversion ratio; FCR) ของปลานิลจิตรลดา 1 ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลแดง เท่ากับ 0.87 ±0.08, 0.60 ±0.07 และ 0.52 ±0.04 ตามลำดับ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักของปลานิลแดง และปลานิลจิตรลดา 3 มีค่าต่ำที่สุด (P<0.05) อัตรารอดของปลาทั้งสามสายพันธุ์มีค่าอยู่ระหว่าง 94.22 - 96.11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอัตรารอดของปลาทั้ง 3 สายพันธุ์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิลที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา | en_US |
dc.title.alternative | Growth Performance Comparison of Nile tilapia Strains for Culture in Payo Province | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 29 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา 56000 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร 47000 | en_US |
article.stream.affiliations | ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ 53140 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.