Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64349
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรอุมา ทองหล่อen_US
dc.contributor.authorสุภาวดี มานะไตรนนท์en_US
dc.contributor.authorอนันท์ เชาว์เครือen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00119_C00888.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64349-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรฟาร์มโคนมในเขตพื้นภาคกลางตอนล่างจำนวน 120 ฟาร์ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 4 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการฟาร์มด้วยวิธี Discriminanant analysis with proportional priors เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลทำให้การจัดการฟาร์มของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่แตกต่างกัน โดยขนาดของฟาร์มแบ่งตามจำนวนโครีดนม คือ จำนวนโครีดนมภายในฟาร์มน้อยกว่า 15 ตัว (8 ฟาร์ม) ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ตัว (54 ฟาร์ม) และตั้งแต่ 30 ตัว ขึ้นไป (58 ฟาร์ม) ตามลำดับ จากผลการศึกษาทั้งหมด 8 ตัวแปร พบว่ามีอยู่ 7 ตัวแปร คือ เพศของเกษตรกร อายุของเกษตรกร ขนาดสมาชิกครอบครัว ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ระดับเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน ปริมาณอาหารข้น ปริมาณอาหารหยาบ ที่มีผลทำให้การจัดการฟาร์มทั้ง 3 ขนาด แตกต่างกัน (P<0.20) ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างของตัวแปรเปอร์เซ็นต์อาหารข้น (P=0.225) ในการวิเคราะห์หาสมการในการจำแนกกลุ่มด้วยวิธี Discriminanant analysis with proportional priors พบว่าสมการมีความสามารถในการจำแนกกลุ่มได้ (P<0.20) ด้วยค่า Wilks'\Lambda = 0.697, Chi-Square = 37.378, df = 20, P = 0.011 และ Canonical Correlation = 0.465 จากค่า Standardized Canonical Discriminant Function Coefficient สรุปได้ว่าตัวแปรที่มีน้ำหนักในการจำแนกสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ ระดับเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน (0.836) ปริมาณอาหารข้น (0.622) เปอร์เซ็นต์อาหารข้น (0.462) ขนาดสมาชิกครอบครัว (0.450) อายุของเกษตรกร (0.304) ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ (0.279) เพศของเกษตรกร (0.158) และปริมาณอาหารหยาบ (0.158) โดยความผิดพลาดของการใช้สมการในการจำแนกกลุ่มของฟาร์มตามขนาดฟาร์มมีค่าเท่ากับ 39.6 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาครั้งนี้ยังสามารถบอกได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคนมลูกผสมที่มีระดับเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 87.5 เปอร์เซ็นต์ ในทุกขนาดฟาร์ม ซึ่งเป็นไปได้ว่าโคนมที่มีระดับเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียนที่ไม่สูงมากนักเป็นระดับเลือดที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในสภาวะแวดล้อมในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการวิเคราะห์จำแนกประเภทเพื่อการจำแนกกลุ่มของขนาดฟาร์มโดยใช้ข้อมูลการจัดการฟาร์มen_US
dc.title.alternativeDiscriminant Analysis for Classifying Farm Size Based on Farm Management Variablesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จ.เพชรบุรี 76120en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.