Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64342
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสราลี ธรรมปริยัติen_US
dc.contributor.authorกิติชัย รัตนะen_US
dc.contributor.authorวิชา นิยมen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:03Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00118_C00884.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64342-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ของชุมชน รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรของชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษาตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่อาศัยอยู่ในตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จำนวน 323 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวมรวบข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 25-59 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ในภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ 98.8 ขนาดการถือครองที่ดินมากว่า 20 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.9 และระยะเวลาการถือครองที่ดิน ส่วนใหญ่ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.9 การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบวนเกษตรส่วนใหญ่ทำวนเกษตรแบบสวนผสมคิดเป็น ร้อยละ 88.9 กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ความเข้าใจระบบวนเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็น ร้อยละ 66.3 สำหรับระดับความรู้ความเข้าใจการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 85.4 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้สถิติไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่า แหล่งข้อมูลข่าวสาร รายได้สุทธิของครัวเรือน ระดับการศึกษา และอาชีพมีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำกรณีศึกษา: ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรen_US
dc.title.alternativeAgroforestry Land Utilization for Head Watershed Conservation: A Case Study of Pak Song Subdistrict, Phato District, Chumphon Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume29en_US
article.stream.affiliationsคณะวนศาสตร์ ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.