Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64340
Title: ผลของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับตะแกรงสั่นต่อการกำจัดด้วงงวงข้าวในการเก็บรักษาข้าวเปลือก
Other Titles: Effects of Infrared Heating Combined with Vibration Screen on Eliminating Rice Weevils in Paddy Storage
Authors: ประดิฐ รามัชฌิมา
ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์
สมโภชน์ สุดาจันทร์
ชัยยันต์ จันทร์ศิริ
Authors: ประดิฐ รามัชฌิมา
ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์
สมโภชน์ สุดาจันทร์
ชัยยันต์ จันทร์ศิริ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับตะแกรงสั่นที่มีต่อการกำจัดด้วงงวงข้าวในการเก็บรักษาข้าวเปลือก ชุดทดสอบเป็นแบบให้ข้าวเคลื่อนที่ผ่านความร้อนในแนวระนาบราบโดยใช้กลไกของลูกเบี้ยวหมุนขึ้นลงทำให้ข้าวเคลื่อนที่มีความหนาบนตะแกรงด้วยการสั่นหรือเขย่า ส่วนระบบการให้ความร้อนใช้แบบไฟฟ้าขนาด 3,600 วัตต์ เพื่อกำเนิดรังสีอินฟราเรดที่ให้อุณหภูมิเริ่มต้นบนระนาบตะแกรง 5 ระดับคือ 120, 140, 160, 180 และ 200 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาอุณหภูมิจากรังสีอินฟราเรดกำจัดแมลงโดยการใช้ข้าว 1 กิโลกรัม พบว่า ที่ความหนาข้าว 3.1 มิลลิเมตร อุณหภูมิตั้งแต่ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-5 วินาที ให้อัตราการตายของแมลงทันที 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความหนาข้าว 4.5 มิลลิเมตร ต้องใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 160 องศาเซลเซียส ในเวลา 4-5 วินาทีจึงให้อัตราการตายเกือบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจึงปล่อยข้าวแบบต่อเนื่องจำนวน 10 กิโลกรัม โดยใช้ความหนาข้าว 3.1 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 160- 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-5 วินาทีเช่นกันเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อการกำจัดแมลงเพื่อการเก็บรักษา และผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิตั้งแต่ 180 องศาเซลเซียส ให้อัตราการตายทันที 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในระหว่างการเก็บรักษาข้าวนาน 2-3 เดือน มีอัตราการเกิดของแมลงอยู่ระหว่าง 1.1-5.3 เปอร์เซ็นต์ และ 1.1-3.7 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 180 และ 200 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ให้ปริมาณต้นข้าวสูงสุดตลอดการเก็บคือ 180 องศาเซลเซียส
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00117_C00872.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64340
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.