Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64334
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแพรวระวี แสงมณีen_US
dc.contributor.authorอรวรรณ ฉัตรสีรุ้งen_US
dc.contributor.authorณัฐา โพธาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:02Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:02Z-
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00117_C00866.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64334-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพู วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ คัดเลือกต้นกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพู ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ โดยคัดเลือกต้นที่มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร นำมาปลูกในวัสดุปลูกที่ประกอบด้วย ทรายกับใบก้ามปูที่บดละเอียดในอัตราส่วน 1:1 แล้วปลูกเชื้อราไมคอร์ไรซาที่ต่างกัน คือ Humicola sp., Fusarium sp., Nodulisporium sp., Oidiodendron sp. และ Trichoderma sp. จำนวน 105 เซลล์ต่อกรัมของวัสดุปลูก ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีที่ปลูกเชื้อ Humicola sp. และ Oidiodendron sp.ให้ความยาวต้นเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 12 หลังจากการปลูกมากที่สุด ในขณะที่จำนวนใบเฉลี่ยต่อต้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาเพิ่มจำนวนใบเฉลี่ยต่อต้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 ถึง 28 โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มตั้งแต่ 167 ถึง 706 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ (compound microscope) และใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบชนิดส่องกราด (scanning electron microscope: SEM) พบว่ามีการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราไมคอร์ไรซาในเซลล์รากของทุกกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อ ในขณะที่ไม่พบเส้นใยของเชื้อราไมคอร์ไรซาในกรรมวิธีควบคุมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพูen_US
dc.title.alternativeEffects of Mycorrhizas on Growth of Terrestrial Orchid Habenaria erichmichaelii Christensonen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume28en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.