Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัณศยา สุริยะวงศ์ตระการen_US
dc.contributor.authorวีระพันธ์ กันแก้วen_US
dc.contributor.authorอัญชัญ ชมภูพวงen_US
dc.contributor.authorศิวาพร ธรรมดีen_US
dc.contributor.authorณัฐา โพธาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00115_C00843.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64312-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractต้นอ่อนบรอกโคลีเป็นแหล่งของซัลโฟราเฟนซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนที่รักสุขภาพ ในการทดลองนี้ได้คัดเลือกพันธุ์ที่มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูงมาใช้ในการผสมพันธุ์ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีซัลโฟราเฟนสูง โดยได้มีการศึกษาการออกดอกและการติดเมล็ดของบรอกโคลีพันธุ์การค้าจำนวน 4 พันธุ์ คือ Montop, Packman, Top Green และ F29A ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 7 ซ้ำ โดยใช้ช่อดอกเป็นซ้ำ พบว่าพันธุ์ Top Green และ F29A มีจำนวนวันหลังเพาะเมล็ดจนดอกบาน 50% เร็วที่สุด คือ 64 วัน ทำการผสมข้ามพันธุ์ จำนวน 9 คู่ผสม เมื่อฝักบรอกโคลีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล 50% เก็บฝักและนำไปวัดความยาว น้ำหนัก นับจำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักเมล็ด พบว่าฝักของคู่ผสม F29A x Montop และ F29A x Packman มีความยาวฝักยาวที่สุดเท่ากับ 5.157 และ 5.057 เซนติเมตร ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับฝักที่ได้จากคู่ผสมอื่นๆ ฝักของคู่ผสม Top Green x Montop, Top Green x Packman, F29A x Montop และ F29A x Packman มีน้ำหนักฝักมากที่สุด คือ 0.097, 0.103, 0.091 และ 0.093 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ เมื่อศึกษาการติดเมล็ดในฝักพบว่ามีคู่ผสมจำนวน 6 คู่ที่สามารถติดเมล็ดได้ คือคู่ผสม Top Green x Montop, Top Green x Packman, Top Green x F29A, F29A x Montop, F29A x Packman และ F29A x Top Green โดยคู่ผสม Top Green x Packman มีจำนวนเมล็ดต่อฝักมากที่สุด คือ 8.0 เมล็ดต่อฝัก และคู่ผสม Top Green x Packman และ F29A x Packman ให้น้ำหนักเมล็ดต่อฝักมากที่สุด คือ 0.026 และ 0.028 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ เมื่อนำเมล็ดที่ได้มาเพาะและนำต้นอ่อนที่อายุ 5 วัน หลังงอก ไปวิเคราะห์ปริมาณซัลโฟราเฟน พบว่าลูกผสม F29A x Packman มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูงที่สุดคือ 4.34 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการคัดเลือกและผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมบรอกโคลีเพื่อผลิตต้นอ่อนที่มีซัลโฟราเฟนสูงen_US
dc.title.alternativeSelection and Hybrid Broccoli Seed Production for Producing High Sulforaphane Sprouten_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume28en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsมูลนิธิโครงการหลวง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.