Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวณิชญา ฉิมนาคen_US
dc.contributor.authorวีรเทพ พงษ์ประเสริฐen_US
dc.contributor.authorไสว บูรณพานิชพันธุ์en_US
dc.contributor.authorจิราพร กุลสารินen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00116_C00855.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64308-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractด้วงเต่าสีส้ม (Micraspis discolor (Fabricius)) (Coleoptera: Coccinellidae) เป็นด้วงเต่าตัวห้ำที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในนาข้าวและพืชปลูกได้หลายชนิด โดยทั่วไปด้วงเต่าชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มแมลงตัวห้ำที่กินเหยื่อแบบไม่เจาะจง แต่การเลือกเหยื่อมักเกิดขึ้นเสมอเมื่อมีเหยื่อหลากหลายชนิดอยู่รวมกัน ซึ่งในกระบวนการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนนั้นการเลือกเหยื่อที่เหมาะสม นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานเชิงคุณภาพที่เป็นดัชนีแสดงถึงการเจริญเติบโตของด้วงเต่าได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น จึงได้ดำเนินการศึกษาตารางชีวิตของด้วงเต่าสีส้มขึ้นโดยเปรียบเทียบระหว่างการเพาะเลี้ยงด้วยเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis craccivora Koch) และเพลี้ยอ่อนผัก (Lipaphis erysimi Kaltenbach) ขึ้น เพื่อศึกษาคุณภาพของเพลี้ยอ่อนที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าสีส้มต่อไป ผลการศึกษาพบว่าระยะการเจริญเติบโตของด้วงเต่าสีส้มเมื่อเลี้ยงด้วยเพลี้ยอ่อนถั่วและเพลี้ยอ่อนผักตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย เฉลี่ย 15.24±0.86 และ 14.45±1.06 วัน ตามลำดับ จากตารางชีวิตแบบชีววิทยาด้วงเต่าสีส้มที่เลี้ยงด้วยเพลี้ยอ่อนถั่วมีอัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (Ro) เท่ากับ 12.8262 เท่า ค่าสัมประสิทธิ์การเพิ่มทางกรรมพันธุ์ (rc) เท่ากับ 0.1255 เท่า ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (Tc) เท่ากับ 20.3385 วันและมีอัตราการเพิ่มที่แท้จริง (l) เท่ากับ 1.1337 เท่า โดยตัวเต็มวัยเริ่มวางไข่ในวันที่ 3 หลังจากเป็นตัวเต็มวัย และวางไข่สูงสุดในวันที่ 6 โดยมีช่วงระยะเวลาวางไข่ 9 วัน ในขณะที่เลี้ยงด้วยเพลี้ยอ่อนผัก มีค่าอัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (Ro) เท่ากับ 6.3000 เท่า ค่าสัมประสิทธิ์การเพิ่มทางกรรมพันธุ์ (rc) เท่ากับ 0.1107 เท่า ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (Tc) เท่ากับ 16.6190 วันและมีอัตราการเพิ่มที่แท้จริง (l) เท่ากับ 1.1171 เท่า โดยตัวเต็มวัยเริ่มวางไข่ในวันที่ 2 หลังจากเป็นตัวเต็มวัย และวางไข่สูงสุดในวันที่ 3 มีช่วงระยะเวลาวางไข่ 10 วัน จากตารางชีวิตแบบนิเวศวิทยา ด้วงเต่าสีส้มที่เลี้ยงด้วยทั้งเพลี้ยอ่อนถั่วและเพลี้ยอ่อนผักมีอัตราการตายต่อชั่วอายุสูงสุดในระยะตัวอ่อนวัยที่ 1 และมีเส้นกราฟแสดงการรอดชีวิตเป็นแบบ Type II และ Type III ตามลำดับ เพลี้ยอ่อนถั่วจึงมีความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าสีส้มen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleตารางชีวิตเปรียบเทียบของด้วงเต่าสีส้มเมื่อเพาะเลี้ยงด้วยเพลี้ยอ่อนถั่วและเพลี้ยอ่อนผักen_US
dc.title.alternativeComparative Life Tables of Micraspis discolor (Fabricius) When Fed on Aphis craccivora (Koch) and Lipaphis erysimi (Kaltenbach)en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume28en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.