Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64302
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอนัญญา ชุ่มธิen_US
dc.contributor.authorวีระพร ศุทธากรณ์en_US
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ทรงคำen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97850/76232en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64302-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาระงานทางกายทั้งในด้านท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม และการออกแรงมากเกินกำลัง ส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระงานทางกาย อาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางกาย และอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน จำนวน 249 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา อัตราความชุกของอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 69.48 มีภาระงานทางกาย ในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 13.25 มีภาระงานทางกายในระดับสูง ส่วนอัตราความชุกของอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในช่วง 12 เดือน และ 7 วัน ที่ผ่านมา พบร้อยละ 88.35 และ ร้อยละ 47.39 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามส่วนของร่างกายที่มีอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในช่วง 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการผิดปกติบริเวณหลังส่วนล่างในสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือไหล่ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ พบว่า ภาระงานทางกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อทั้งในช่วง 12 เดือน และ 7 วัน ที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = .217, p = .001 และ rpb = .139, p = .029) และภาระงานทางกายยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อที่บริเวณหลังส่วนล่าง และบริเวณไหล่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในช่วง 12 เดือน (rpb = .330, p = .000 และ rpb = .359, p = .000) และในช่วง 7 วันที่ผ่านมา (rpb = .159, p = .012 และ rpb = .289, p = .000) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อนโดยเฉพาะในด้านท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม และความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อที่มีผลจากภาระงานทางกายen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ของเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อนen_US
dc.title.alternativePhysical Workload and Musculoskeletal Disorders Among Baby Corn Farmersen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.