Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเบญจมาศ สุขสถิตย์en_US
dc.contributor.authorผดุงธรรม เที่ยงบูรณธรรมen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91164/71604en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64292-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractโรคสมองขาดเลือดเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตทั่วโลก และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment) การวิจัยแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความชุกของภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยจากแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) และแบบประเมินภาวะพุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment (MoCA) ฉบับภาษาไทย รวมถึงลักษณะเฉพาะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจำนวน 52 คน ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกผลการทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย และแบบบันทึกผลการประเมินภาวะพุทธิปัญญาMoCA ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันสถิติทดสอบไคสแควร์และการทดสอบของฟิสเชอร์ ผลการวิจัย พบว่า เมื่อประเมินด้วย MMSE ฉบับภาษาไทย ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยแต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อประเมินด้วย MoCA ฉบับภาษาไทย พบความชุกของภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยที่ ร้อยละ 65.38 โดยความผิดปกติที่พบ 3 อันดับแรก ได้แก่ความผิดปกติในการทวนซ้ำ การมองเห็นและมิติสัมพันธ์/การบริหารจัดการ และการคิดเชิงนามธรรม โดยค่าความถี่ของความผิดปกติที่พบเท่ากับร้อยละ100, 91.18, และ 82.35 ตามลำ ดับสำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด พบว่ามีเพียงคะแนน MMSE เท่านั้นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาปกติและ ผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย (tdf=50 =4.03, p = .0002) ในขณะที่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองขาดเลือด และชนิดของโรคสมองขาดเลือดจากการจำแนกโดยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย ภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด บุคลากรในทีมสุขภาพควรมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความชุกของการเกิดภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องและควรทำการคัดกรองภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อดำรงและฟื้นฟูภาวะพุทธิปัญญาของผู้ป่วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด: ความชุก ลักษณะเฉพาะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องen_US
dc.title.alternativeMild Cognitive Impairment among Patients with Ischemic Stroke: Prevalence, Characteristics, and its related Factorsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลโรยัลพนมเปญ,กัมพูชาen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.