Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64290
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภมาส สุภารัตน์en_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ อินตาen_US
dc.contributor.authorเนตรทอง นามพรมen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97827/76217en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64290-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractทารกเกิดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้สารอาหารที่ให้ภูมิต้านทานแก่ร่างกายและให้พลังงานอย่างเพียงพอจากน้ำนมมารดาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน แต่จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าอัตราการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือนในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ค่อนข้างต่ำ และพบปัญหาการได้รับน้ำนมมารดาไม่เพียงพอ ก ารเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม รวมทั้งมีพัฒนาการไม่สมวัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการให้นมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37สัปดาห์หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยทารกมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปเมื่อมารับบริการตรวจตามนัดที่คลินิกทารกเสี่ยงสูง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 84 ราย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2557 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาและทารก และ ข้อมูลการให้นมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (2)แบบสอบถามความเชื่อมั่นในความสามารถของมารดาในการให้นมทารกเกิดก่อนกำหนด (Cronbach’s alpha= .97) (3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจากสามีและการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว (Cronbach’s alpha= .96 และ .94) และ(4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของบุคลากรทีมสุขภาพในการให้นมทารกเกิดก่อนกำหนด (Cronbach’s alpha= .77) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและพิสัย และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติความสัมพันธ์แบบ Contingency และ Phi ผลการวิจัยพบว่าการให้นมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในความสามารถของมารดาในการให้นมทารกเกิดก่อนกำหนด (r=0.28 , p= 0.03) และประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา (r=0.25, p= 0.02) ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพที่ดูแลมารดาที่คลอดทารกเกิดก่อนกำหนด ควรส่งเสริมให้มารดามีความเชื่อมั่นในความสามารถให้นมมารดาเพิ่มขึ้น เพื่อที่มารดาจะให้นมแก่ทารกเกิดก่อนกำหนดได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ และทำให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีการเจริญเติบโตตามปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการให้นมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจาก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors related to breast feeding among preterm infant mothers after discharge from Maharaj Nakorn ChiangMai Hospitalen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.