Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64284
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสาวนุช สมศรีen_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.contributor.authorสุภารัตน์ วังศรีคูณen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91148/71590en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64284-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดอาการสำคัญทางคลินิกจากการบาดเจ็บสมองและได้รับการจำหน่ายออกจากแผนกฉุกเฉิน อาจมีความก้าวหน้าการดำเนินของพยาธิสภาพจากการบาดเจ็บที่สำคัญในเวลาต่อมา จึงไม่อาจยืนยันถึงความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้ได้อย่างแท้จริง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการวางแผนการจำหน่ายผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยจากแผนกฉุกเฉินต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแล เลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเจาะจงจำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละเท่ากันจำนวน 36 คน เครื่องมือวิจัยสร้างโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วยแผนการจำหน่ายผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย วีดิทัศน์ประสบการณ์ผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ภาพสไลด์การดูแลผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย และคู่มือการดูแลผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยได้รับการตรวจสอบคุณภาพความตรงของเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และปรับปรุงหลังการนำไปทดลองใช้ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลสร้างโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรม ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ คูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้ค่า .74 และ .71 รวบรวมข้อมูลหลังการจำหน่ายจากแผนกฉุกเฉิน 24 48 และ 72 ชั่วโมงตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยปฏิบัติของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1, 70=314.671, p<.001 และ F1, 70=300.895, p=.001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นผลของการวางแผนการจำหน่ายผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยต่อการคงอยู่ของความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลหลังจากจำหน่ายออกจากแผนกฉุกเฉิน จึงควรนำแผนการจำหน่ายผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยจากแผนกฉุกเฉินมีความปลอดภัยมากขึ้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการวางแผนการจำหน่ายผู้บาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยจากแผนกฉุกเฉิน ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลen_US
dc.title.alternativeEffects of Emergency Department Discharge Planning for Persons with Mild Traumatic Brain Injury on Caregivers’ Knowledge and Practicesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.