Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64283
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพียงพิศ บุญชัยศรีen_US
dc.contributor.authorวันชัย เลิศวัฒนวิลาศen_US
dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91150/71591en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64283-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้ป่วย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและการจัดการกับอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวนำกลับมาใช้ซ้ำในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทย ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 96 แห่ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำของสมาคมควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลประเทศอินเดีย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแบบสอบถามคืนจากโรงพยาบาล 84 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 87.50 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลที่มีการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวนำกลับมาใช้ซ้ำมีจำนวน 82 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.62 ของโรงพยาบาลที่ตอบกลับทั้งหมด อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวนำกลับมาใช้ซ้ำ มี 67 ชนิด กลุ่มอุปกรณ์ที่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำมากที่สุดคือ อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบทางเดินหายใจ คิดเป็นร้อยละ 96.34 รองลงมาคือ อุปกรณ์ผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 80.49 และอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบทางเดินปัสสาวะ คิดเป็นร้อยละ 71.95 อุปกรณ์ก่อนนำกลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 90.24 การจัดเก็บอุปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 89.02 การบรรจุหีบห่ออุปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 87.80 การดูแลพื้นที่ในการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 68.29 องค์ประกอบที่มีการปฏิบัติครบทุกองค์ประกอบย่อยน้อยที่สุดคือ การยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ป่วยในการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 4.88 การได้รับอนุญาตให้นำอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 7.32 การระบุรายละเอียดของการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 7.32 การจัดทำตารางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 7.32 และการกำหนดจำนวนครั้งในการเลิกใช้อุปกรณ์ที่นำกลับมาใช้ซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 13.41 ขั้นตอนที่ไม่มีโรงพยาบาลใดปฏิบัติได้ครบทุกกิจกรรมย่อยคือ การทำความสะอาดอุปกรณ์กลับมาใช้ซ้ำการจัดการอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวนำกลับมาใช้ซ้ำที่มีการปฏิบัติครบทุกองค์ประกอบย่อยมากที่สุดคือ การประเมินกระบวนการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือ การตรวจสอบสภาพ การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า โรงพยาบาลที่มีการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการและควบคุมกำกับให้บุคลากรมีการปฏิบัติในทุกกิจกรรมให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและการกำหนดจำนวนครั้งในการเลิกใช้อุปกรณ์ที่นำกลับมาใช้ซ้ำen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิen_US
dc.title.alternativeReuse of Single-Use Medical Devices in Secondary and Tertiary Hospitalsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.