Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัญพัชญ์ วิวัฒน์กมลชัยen_US
dc.contributor.authorศรีพรรณ กันธะวังen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91141/71583en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64281-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractมะเร็งในเด็กเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต และเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ซับซ้อน มีอาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ส่งผลให้บิดามารดาเกิดความรู้สึกสูญเสียบุตร ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยอันอาจนำไปสู่การพัฒนาเป็นความรู้สึกโศกเศร้าเรื้อรัง วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงพรรณนานี้ คือ อธิบายความโศกเศร้าเรื้อรัง และวิธีการจัดการของบิดามารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้ทฤษฎีความโศกเศร้าเรื้อรัง (Eakes, Burke, & Hainsworth, 1998) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ บิดามารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จำนวน 65 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความโศกเศร้าเรื้อรังของบิดามารดา เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และแบบประเมินวิธีการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังของบิดามารดา เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. บิดามารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งส่วนมาก (ร้อยละ 93.8) เกิดความรู้สึกแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดหวังในระดับมาก ซึ่งนำไปสู่ความโศกเศร้าเรื้อรังในระดับสูง และบิดามารดาทุกรายรู้สึกเศร้า โดยร้อยละ 60 ระบุว่ารู้สึกไม่ดีมาก ๆ และทุกรายรู้สึกวิตกกังวล โดยร้อยละ 64.6 ระบุว่า รู้สึกไม่ดีมาก ๆ บิดามารดาส่วนมาก (ร้อยละ 96.9) รายงานว่า ลักษณะความโศกเศร้าเรื้อรังที่เกิดขึ้นมีมากขึ้นและลดลง และ รู้สึกได้ถึงผลกระทบที่มีต่อชีวิตด้านอื่น (ร้อยละ 92.3) และเกินครึ่ง (ร้อยละ 53.8) เชื่อว่า ความรู้สึกโศกเศร้าเรื้อรังนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตตลอดไป และประมาณ 1 ใน 3 (ร้อยละ 35.4) รู้สึกว่าความโศกเศร้ามีมากขึ้นกว่าระยะแรก สิ่งที่กระตุ้นให้บิดามารดาทุกรายเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเรื้อรังขึ้นมาอีก คือ เมื่อบุตรเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากการทำหัตถการ 2. วิธีการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังด้วยตนเอง ในด้านการกระทำด้วยตนเองพบว่า บิดามารดา ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.7) ใช้การปฏิบัติกิจทางศาสนาในวัด/โบสถ์ โดยร้อยละ 67.7 ระบุว่าช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้าง ในด้านการจัดการกับกระบวนการคิด บิดามารดาทุกรายใช้การเผชิญกับความรู้สึกนั้นทุกวัน โดยร้อยละ 67.7 ระบุว่า ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาก ในด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น บิดามารดาส่วนมาก (ร้อยละ 95.4) ใช้การพูดคุยกับคนใกล้ชิด โดยร้อยละ 66.2 ระบุว่า ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้าง และในด้านการจัดการกับอารมณ์ บิดามารดาทุกรายใช้การร้องไห้ โดยร้อยละ 66.2 ระบุว่า ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้าง 3. วิธีการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังโดยการช่วยเหลือจากผู้อื่น พบว่า บิดามารดาส่วนมาก (ร้อยละ 95.4) ได้รับการบอกข้อมูลเรื่องโรค ผลเลือด และแผนการรักษาจากบุคลากรทางสุขภาพ โดยร้อยละ 70.8 ระบุว่า ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาก และบิดามารดาส่วนมาก (ร้อยละ 95.4) ระบุว่า บุคคลในครอบครัว หรือ เพื่อน แสดงความเข้าใจในสถานการณ์ที่บุตรป่วยเป็นมะเร็งและได้รับเคมีบำบัด โดยร้อยละ 47.7 ระบุว่า ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาก ผลการวิจัยทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับ ความโศกเศร้าเรื้อรังและวิธีการจัดการของบิดามารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้สนใจทำการศึกษาวิจัยต่อในเรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความโศกเศร้าเรื้อรังและวิธีการจัดการของบิดามารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยเชิงทดลอง หรือกึ่งทดลอง เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือบิดามารดาในการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังในขั้นตอนต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความโศกเศร้าเรื้อรังและวิธีการจัดการของบิดามารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeChronic Sorrow and Management Strategies Among Parents of Children with Cancer Receiving Chemotherapyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.