Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64280
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวชิราภรณ์ พิชัยen_US
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ พิเชียรเสถียรen_US
dc.contributor.authorสุสัณหา ยิ้มแย้มen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91151/71592en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64280-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครกู้ภัยในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีโอกาสสัมผัสเลือดได้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน ดังนั้นอาสาสมัครกู้ภัยจึงควรมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อสำหรับอาสาสมัครกู้ภัย กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครกู้ภัยที่ปฏิบัติงานในหน่วยกู้ภัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 42 คน ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ระหว่างเรียนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครกู้ภัยต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .98, .92 และ 1.0 ตามลำดับ แบบวัดความรู้มีค่าความเชื่อมั่นแบบคู่ขนานเท่ากับ .72 ประเมินประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยนำไปทดสอบแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดกลุ่มคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อสำหรับอาสาสมัครกู้ภัยที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6/86.9 กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาในการศึกษาจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นเฉลี่ยนาน 80 นาที มีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ในระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งในด้านเนื้อหา การออกแบบ การใช้เมนู และประโยชน์ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการป้องกันการติดเชื้อสำหรับอาสาสมัครกู้ภัยที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนแก่อาสาสมัครกู้ภัยเพื่อให้มีความรู้และนำไปใช้ในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการป้องกันการติดเชื้อสำหรับ อาสาสมัครกู้ภัยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an Infection Prevention Electronic Book for Rescue Volunteersen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.