Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีวรรณ ศรีบุญเรืองen_US
dc.contributor.authorทรียาพรรณ สุภามณีen_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92444/72409en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64274-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractกระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่พยาบาลทั่วโลกใช้ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นการที่พยาบาลจะปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ และทัศนคติของพยาบาลที่มีต่อกระบวนการพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาล 4) แบบสอบถามการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลของพยาบาลทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบ ถามความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลโดยการใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson 20) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และแบบสอบถามทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาล แบบสอบถามการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลของพยาบาลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และ .82 ตามลำดับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ได้แบบสอบถามกลับคืนคิดเป็นร้อยละ 97.59 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 12.24, SD = 2.13) พยาบาลมีทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาลโดยรวมอยู่ระดับดีมาก ( = 3.41, SD = .27) และพยาบาลมีการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.44, SD = .14) นอกจากนั้นยังพบว่า ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล ทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .12, p < .05; r = .14, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลในการพัฒนาทีมการพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล และสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลของพยาบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeKnowledge, Attitude, and Practice in Nursing Process Among Nurses, Lao People’s Democratic Republicen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลมิตรภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.