Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุจิกา ภูมิโคกรักษ์en_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.contributor.authorอัญญารัตน์ ว่องวิริยะพันธุ์en_US
dc.contributor.authorธันยาภรณ์ เหลี่ยวตระกูลen_US
dc.contributor.authorวัชรี นาคะป่าen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/93396/73154en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64272-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตสะท้อนคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาของสถาบันการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตทุกระดับที่สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในประเด็นของ 1) บัณฑิตที่พึงประสงค์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาพยาบาลศาสตร์ และ 3) สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตของผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2556-2557 จำนวน 306 คน แยกเป็นผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี 187 คน ปริญญาโท 114 คน และปริญญาเอก 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .96 และ .79 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่แสดงออกทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=.58, =3.94, S.D.=.41, =3.85, S.D.=.50) ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกมีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.=.40, =4.63, S.D.=.30, =4.83, S.D.=.25) ตามลำดับ 2. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามแนวคิดมาตรฐานการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกมีระดับผลการเรียนรู้ที่แสดงออกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.54, S.D.=.56, =3.98 S.D.=.53, =3.95 S.D.=.71) ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการระดับผลการเรียนรู้ของบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.51, S.D.=.42, =4.63, S.D.=.39, =4.85, S.D.=.33) 3. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ ระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.94, S.D.=.57) ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=.43) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตเพื่อให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDesired Characteristics of Graduates from Faculty of Nursing, Chiang Mai University as Perceived by their Supervisors/ Employersen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsปฏิบัติงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.