Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัตนา เฮงสุวรรณen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92440/72407en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64263-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ มีความสำคัญต่อคุณภาพการพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการทำงาน ภาวะสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 362 คน ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 59.95 ทั้งมีความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้แรงกายและที่ต้องใช้ความคิดและจิตใจอยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 46.13 และร้อยละ 63.81 ส่วนภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.39 และเช่นเดียวกับภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.43 และ ร้อยละ 59.39 ตามลำดับ ทั้งพบภาวะสุขภาพโดยรวมและรายด้านทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความสามารถในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rS = 0.602, rS = 0.581, rS = 0.534, p < 0.001) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการทำงาน ควบคู่กับการเสริมสร้างสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพยาบาลวิชาชีพจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานของพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeWork Ability and Health Status Among Registered Nurse in a University Hospitalen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.