Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนริศรา ธรรมทัชen_US
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ พิเชียรเสถียรen_US
dc.contributor.authorพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่นen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T09:59:54Z-
dc.date.available2019-05-07T09:59:54Z-
dc.date.issued2016en_US
dc.identifier.issn0125-0080en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77523/62183en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64255-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้ออาจส่งผลให้การวินิจฉัยการติดเชื้อใน กระแสโลหิตผิดพลาดได้การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ ในตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อและถุงมือสะอาดโดยศึกษาในโรงพยาบาล ทั่วไปแห่งหนึ่งตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2555ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2556กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นตัวอย่าง เลือดส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยพยาบาลวิชาชีพจำนวน 20 คนซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและผ่านการอบรม การเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อโดยผู้วิจัยโดยมีการปกปิดชนิดของถุงมือที่ใช้เก็บตัวอย่างเลือด ตัวอย่างเลือด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อและกลุ่มที่เก็บโดยใช้ถุงมือสะอาด จำนวนกลุ่มละ 421 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ถุงมือปราศจากเชื้อ และถุงมือสะอาด และแบบบันทึก ผลการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน ตรวจ สอบความเชื่อมั่นของการวินิจฉัยการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพโดยผู้วิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรค ติดเชื้อได้1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาอัตราการปนเปื้อนค่าความเสี่ยง ความแตกต่างของความเสี่ยง และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อ และถุงมือสะอาดมี อัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในตัวอย่างเลือดร้อยละ1.9และ1.7ตามลำดับ คิดเป็นความแตกต่างของความ เสี่ยง 0.0024 (95% CI -0.0155-0.0202; p = .795) ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเชื้อจุลชีพที่ ปนเปื้อนในตัวอย่างเลือดที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อได้แก่ เชื้อ Bacillus spp., Staphylococcus epidermidis และ Micrococcus spp. เชื้อที่ปนเปื้อนในตัวอย่างเลือดที่เก็บโดยใช้ถุงมือสะอาด ได้แก่ Bacillus spp., Corynebacterium spp. และ Staphylococcus epidermidis. ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว ่าการเจาะเลือดส ่งตรวจเพาะเชื้อสามารถใช้ถุงมือสะอาดหรือถุงมือ ปราศจากเชื้อได้เนื่องจากอัตราการปนเปื้อนเชื้อไม่แตกต่างกันen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ ที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อกับถุงมือสะอาดen_US
dc.title.alternativeMicrobial Contamination Rates of Blood Culture Specimen Obtained by Using Sterile Versus Nonsterile Glovesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.