Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64253
Title: | ผลของการทำความสะอาดเสน้ผมและหนงัศรีษะหลงัการจดัการแผลตอ่ความพงึพอใจ การติดเชื้อ และการหายของแผลของผู้บาดเจ็บที่มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะ |
Other Titles: | Effects of Hair and Scalp Cleaning after Wound Management on Satisfaction Infection and Wound Healing among Traumatic Persons with Scalp Laceration |
Authors: | วันวิสาห์ โยธิยา อัจฉรา สุคนธสรรพ์ สุภารัตน์ วังศรีคูณ |
Authors: | วันวิสาห์ โยธิยา อัจฉรา สุคนธสรรพ์ สุภารัตน์ วังศรีคูณ |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | แผลฉีกขาดที่ศีรษะเป็นแผลอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย การทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการ จัดการแผลอาจทำให้ผู้บาดเจ็บเกิดความพึงพอใจแต่อาจส่งผลต่อการติดเชื้อที่แผลและการหายของแผลการ ศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อศึกษาผลของการทำความสะอาด เส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลต่อความพึงพอใจการติดเชื้อและการหายของแผลของผู้บาดเจ็บที่ มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและมีแผลฉีกขาดที่ศีรษะซึ่งแพทย์ อนุญาตให้กลับบ้านภายหลังได้รับการจัดการแผลที่ห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือผู้ที่ได้รับบาด เจ็บและมีแผลฉีกขาดที่ศีรษะซึ่งแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านภายหลังได้รับการจัดการแผลที่ห้องฉุกเฉิน โรง พยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จำนวน 90รายเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 45 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติกลุ่มทดลองได้รับการทำความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะหลังการจัดการแผล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ใน การทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะ น้ำยา 4% คลอเฮกซิดีนกลูโคเนต แชมพูเด็ก น้ำประปา และคู่มือ การทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบ บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจซึ่งมีข้อคำถามเดียว แบบบันทึกการติดเชื้อที่แผลตาม เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อที่แผลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and Prevention[CDC],2014)และแบบบันทึกการหายของแผลเครื่องมือใช้ในการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมและผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในการศึกษานี้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย การติดเชื้อที่แผลและการหายของแผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยูและสถิติ ไคว์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลมีความพึงพอใจ (ค่า มัธยฐาน = 4) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ(ค่ามัธยฐาน = 3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, U = 260, r = 7.10) 2. กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลและกลุ่ม ที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติไม่มีการติดเชื้อที่แผล 3. กลุ ่มที่ได้รับการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลมีการหายของแผล ร้อยละ 77.78 (35/45) ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติร้อยละ 84.44 (38/45) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะหลังการจัดการแผลอย่างเหมาะ สมสร้างความพึงพอใจโดยไม่ทำให้แผลติดเชื้อและไม่มีผลต่อการหายของแผลในผู้บาดเจ็บที่มีแผลฉีกขาดที่ ศีรษะ ดังนั้นจึงควรนำวิธีการนี้ไปใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บที่มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะเพื่อพัฒนาคุณภาพการ พยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77528/62187 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64253 |
ISSN: | 0125-0081 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.