Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48726
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปฐมาวดี จงรักษ์ | - |
dc.contributor.author | อัญชลี ศาลางาม | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-07-06T07:54:58Z | - |
dc.date.available | 2018-07-06T07:54:58Z | - |
dc.date.issued | 2557-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48726 | - |
dc.description.abstract | The study of The Development of Knowledge Management in Solid Waste Management of Thakadnuae Subdistrict Municipality, Mae Tha District, Lamphun Province aimed to 1) analyze the knowledge management process in solid waste management of Mae Rang Subdistrict Municipality, Pa Sang District, Lamphun Province that received the award for solid waste management 2) analyze the knowledge management process in solid waste management of Thakadnuae Subdistrict Municipality, Mae Tha District, Lamphun Province 3) to find ways to develop the knowledge management in solid waste management of Thakadnuae Subdistrict Municipality. The research was compared the solid waste management between Mae Rang Subdistrict Municipality and Thakadnuae Subdistrict Municipality in analyzing the knowledge management process by using Tuna Model in three main areas as follows; 1) knowledge vision 2) knowledge sharing 3) knowledge asset. The research was a qualitative research. The sample of the study consisted of 11 members that were divided into two groups as follows; the first group was 5 members who concerned in solid waste management of Mae Rang Subdistrict Municipality and the second group was 6 members who involved in solid waste management of Thakadnuae subdistrict Municipality. The sampling method was a purposive sampling and the data were collected by in-depth interview. The research instrument was the semi-structured interview and the data were analyzed by the descriptive statistic. The study was shown as below. The knowledge management process of Mae Rang Subdistrict Municipality was divided into three parts as follows. 1) Knowledge vision ; to reduce the amount of growing garbage in community and create the prototype of zero waste community for distribution at other communities in Mae Rang Subdistrict area. 2) Knowledge sharing; to assign the knowledge sharing techniques of waste management through the village meetings to find ways of reducing waste and garbage incineration. 3) Knowledge asset; there were explicit knowledge such as documents, record, and database to use as a guideline for reducing the amount of garbage in the area. Moreover, there were tacit knowledge such as village philosophers, youth leaders, and learning resources that were used as a guideline for reducing waste in the area and also caused the innovation. The knowledge management process of Thakadnuae Subdistrict Municipality was divided into three parts as follows. 1) Knowledge vision; the villagers knew the segregation of waste before leaving garbage. 2) Knowledge sharing; to manage the village meetings in the area to acknowledge the problem of garbage and participating in the community meetings in each village to find ways of reducing waste. 3) Knowledge asset; there were no explicit knowledge which did not find any documents or database for using as a guideline to reduce waste in the area but it was found that the tacit knowledge was occurred from community leaders in part of transferring knowledge through the public to understand the waste management with the demonstration of waste separation from various color tanks. When comparing the results of analysis of knowledge management process between Mae Rang Subdistrict Municipality and Thakadnuae Subdistrict Municipality, the researcher has offered the approach to develop knowledge management in solid waste management of Thakadnuae Subdistrict Municipality which divided into three parts as follows. 1) Knowledge vision; there should be focused on the potential and the readiness of community to find out the targeting method of waste management in the area together and search for somebody to take responsibility for this work. 2) Knowledge sharing; there should be focused on the participation of community and supporting the activities of knowledge sharing programs. 3) Knowledge asset; storage of information from many activities to make the handbook, creating the prototype community, and taking the result or report of activities to compete in the contest with other organizations. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การจัดการความรู้ | en_US |
dc.subject | การจัดการขยะ | en_US |
dc.subject | เทศบาลตำบลทากาศเหนือ | en_US |
dc.title | การพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการจัดการขยะของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | The Development of Knowledge Management in Solid Waste Management of Thakadnuae Subdistrict Municipality, Mae Tha District, Lamphun Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 363.728 | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการความรู้ | - |
thailis.controlvocab.thash | ขยะ -- ลำพูน | - |
thailis.controlvocab.thash | การกำจัดขยะ | - |
thailis.controlvocab.thash | ขยะ -- การจัดการ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 363.728 อ113ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาการพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการจัดการขยะของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการจัดการความรู้ในด้าน การจัดการขยะของเทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ที่ได้รับรางวัลด้านการบริหารจัดการขยะที่ดี (2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการจัดการความรู้ในด้านการจัดการขยะของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (3) เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาปรับเปลี่ยนการจัดการความรู้ด้านการจัดการขยะของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดการขยะในพื้นที่ของเทศบาลตำบลแม่แรงและเทศบาลตำบลทากาศเหนือ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลปลาทูใน3 หลัก ได้แก่ (1) เป้าหมาย/วิสัยทัศน์ (2) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ(3) คลังความรู้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 11 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่แรง จำนวน 5 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะ ในพื้นที่เทศบาลตำบลทากาศเหนือ จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเขียนบรรยาย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการจัดการความรู้ในเทศบาลตำบลแม่แรง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนที่เพิ่มขึ้น และเพื่อสร้างต้นแบบชุมชนปลอดขยะ สำหรับเผยแพร่แก่ชุมชนอื่นๆในเขตตำบลแม่แรง 2. ด้านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการขยะโดยวิธีการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณขยะและลดการเผาขยะ 3. ด้านคลังความรู้ เกิดความรู้แบบแจ้งชัด ได้แก่ เอกสาร บันทึก ฐานข้อมูล ที่ใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะในพื้นที่ และเกิดความรู้แบบไม่แจ้งชัด ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำ เยาวชน แหล่งการเรียนรู้ ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการลดปริมาณขยะในพื้นที่ได้และยังทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ กระบวนการจัดการความรู้ในเทศบาลตำบลทากาศเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2. ด้านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีจัดการประชุมประชาคมในพื้นที่ เพื่อร่วมรับฟังสภาพปัญหาด้านขยะของพื้นที่ก่อน ต่อมาได้มีการลงพื้นที่ในการร่วมประชุมประชาคมแต่ละหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณขยะ 3. ด้านคลังความรู้ ยังไม่มีการเกิดความรู้แบบแจ้งชัด ซึ่งยังไม่พบเอกสารบันทึกหรือฐานข้อมูล สำหรับนำมาเป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะในพื้นที่ หากแต่พบว่า ได้มีการเกิดความรู้แบบไม่แจ้งชัดจากผู้นำชุมชนในการถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนให้เข้าใจวิธีจัดการขยะ ด้วยวิธีการสาธิตการ คัดแยกขยะจากถังสีต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้ของเทศบาลตำบลแม่แรงและเทศบาลตำบลทากาศเหนือ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการจัดการขยะของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ ควรให้ความสำคัญในเรื่องศักยภาพและความพร้อมของชุมชน เพื่อหาวิธีกำหนดเป้าหมายในการจัดการขยะในพื้นที่ร่วมกัน และสรรหาบุคลากรที่รับผิดชอบ 2. ด้านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ด้านคลังความรู้ จัดเก็บข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมต่างๆ เพื่อจัดทำเอกสารคู่มือ สร้างชุมชนต้นแบบ และการนำผลงานกิจกรรมที่จัดขึ้น นำส่งเข้าร่วมการประกวดกับหน่วยงานอื่นๆ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 164.85 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 578.33 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 263.76 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 708.39 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 277.4 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 694.25 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 400.44 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 232.28 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 528.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 578.38 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.