Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorนิตยา จันทึงen_US
dc.date.accessioned2018-06-04T03:41:33Z-
dc.date.available2018-06-04T03:41:33Z-
dc.date.issued2558-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48651-
dc.description.abstractThe research titled “The Administrative Development of Chiang Mai University Educational “Hariphunchai” Center, Lamphun Province” had 2 objectives; 1. to study the condition of management Hariphunchai Education Centre and 2. to study the guidelines to develop the management in Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province un order to be successful. Qualitative research was undertaken in this study. Interviewing were held with the group of people relating to Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province. These persons included 4 directors and 17 personnel of Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province. The managerial concept of McKinsey 7-s Framework was employed as a theoretical management for the study. The qualitative data, collected from relating documents and by the interview, was analyzed using Content Analysis Method. The analyzed data was then presented in the form of explanatory footnote. The result of the study yielded that; 1. The condition of management in Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province could be concluded as follows; 1.1 There was the determination of the strategies that accorded with strategic for developing Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, but there was no implementation of working plans that reflected the planning of the projects and activities as well as the obvious planning indicators. The personnel were, then, unable to understand the actual strategies set. 1.2 Concerning the structure, the jobs were elastically assigned due to the duty and there was the flexibility in management. 1.3 The core value was the creative cultures which emphasized the working success, the operator’s satisfaction of working, working enthusiasm, and teamwork. 1.4 The system and working methods were implemented according to the rules and regulations of Chiang Mai University. However, monitoring systems for working operations and quality management systems were required. 1.5 The personnel were continuously supported to develop their knowledge and abilities. 1.6 The characteristic of the leader was an appropriate model for other personnel, resulting in working success. 1.7 The skills of the personnel were applied to works to reach the goals of Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province. 2. The developing guidelines for the management in Chiang Mai University Hariphunchai Education Centre, Lamphun Province was to implement strategic planning under the appropriate processes continuously, starting from planning, working analysis, monitoring and improvement, as well as forming the structure by integrating workings together. These would make structural management flexible and dexterous in line with the system. This could be implemented by using quality assurance system as a supporting tool for successful work and, at the same time, creating the core value in form of share vision to collaborate the organization. The directors must realize the significance of creating culture and share vision by thinking of goals, main mission, and organizational strategies along with the managerial style. The leaders must, also, recognize their own roles and possessed the capability in management. The administrators should demonstrate leadership, moral principles, and loyalty to the organization and themselves. They must also set the process in planning human resource (staff) and pay attention to human resource management as well as encouraged the personnel to use their existing skills to regularly explore new knowledge.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาการบริหารen_US
dc.subjectศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหริภุญไชยen_US
dc.subjectจังหวัดลำพูนen_US
dc.titleการพัฒนาการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeThe Administrative Development of Chiang Mai University Educational “Hariphunchai” Center, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc378.107-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- การบริหาร-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- การวางแผน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 378.107 น346ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน สู่ความสำเร็จ ผู้ศึกษาการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์กับกลุ่มของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน ประกอบด้วยผู้บริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4 คน และบุคลากรของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 17 คน โดยผู้ศึกษานำทฤษฎีทางการบริหารที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แนวคิดการบริหารตามแบบจําลอง McKinsey 7-S Framework และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอในเชิงอรรถอธิบาย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1.1 มีการกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ขาดการจัดทำแผนงานที่แสดงถึงการวางแผนโครงการ กิจกรรม รวมทั้งเป้าหมายตัวชี้วัดที่ชัดเจน ทำให้บุคลากรไม่มีความเข้าใจในกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ 1.2 โครงสร้าง มีแบ่งงานตามภาระหน้าที่อย่างมีความยืดหยุ่น และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ 1.3 ค่านิยมหลักเป็นวัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ จะเน้นการทำงานที่มุ่งผลสำเร็จ และมีความภาคภูมิใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน มีความกระตือรือร้นในการทำงาน เน้นการทำงานเป็นทีม 1.4 ใช้ระบบแและวิธีการที่เป็นขั้นตอนตามระเบียบและข้อบังคังของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ขาดระบบการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานและระบบบริหารคุณภาพ 1.5 มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง 1.6 ลักษณะของผู้นำเป็นผู้ปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากร ส่งผลให้ปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ 1.7 มีการนำทักษะของบุคลากรมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน จะต้องดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy) อย่างเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน การวิเคราะห์งาน การติดตามผลและการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งการจัดโครงสร้าง (Structure) แบบบูรณาการงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การบริหารโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ โดยให้สอดคล้องกับการจัดระบบและวิธีการ (System) โดยการนำเอาระบบประกันคุณภาพ มาเป็นเครื่องมือช่วยให้การทำงานให้สำเร็จ พร้อมกันนี้สร้างค่านิยมหลัก (Share Vision) ให้มีลักษณะค่านิยมร่วมเพื่อส่งเสริมองค์การ ผู้บริหารจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมร่วม โดยคำนึงถึงเป้าหมาย ภารกิจหลัก และกลยุทธ์องค์การ ควบคู่ไปกับลักษณะการบริหาร (Style) ต้องเป็นผู้บริหารรู้บทบาทของตนเอง และมีศักยภาพในการบริหารจัดการ เป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรม และซื่อสัตย์ต่อองค์การและตนเอง ทั้งนี้จะต้องจัดกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Staff) จะต้องให้ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการสนับสนุนให้บุคลากรนำทักษะ (Skills) ที่มีอยู่ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)191.63 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract251.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS5.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.