Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดช ดำรงศักดิ์-
dc.contributor.authorอัจฉริยา พวงยอดen_US
dc.date.accessioned2018-04-27T08:35:57Z-
dc.date.available2018-04-27T08:35:57Z-
dc.date.issued2559-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48555-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study were analysis of the factors affecting to change in the energy industry and commercial in Thailand was analyzed using Decomposition technique LMDI I index. They are factors that affect energy use three factor were the activity effect, the structure effect and the intensity effect. A data was selected from final energy consumption over the last 25 years, from B.E. 2533 to 2557, divided into four study periods based on economic structure and the National Energy Conservation law; i.e. (i) The first sub-period from B.E. 2533 to 2540 which presents the high economic progress of the country before The National Energy Conservation law B.E. 2535, (ii) The second sub-period from B.E. 2540 to 2550, during the effect of the law and the period of economic slowdown after the crises. (iii) The third transition period of the law from B.E. 2550 to 2553 from first to second version and the global economic slowdown, and (iv) The last sub-period from B.E. 2553 to 2557, during the effect of the law (No.2) and the political crisis in the Thai economy. The findings showed Thai economic sectors, the impact of structure effect over the intensity effect. During the first sub-period was the most changed by structure effect and the intensity effect because of changes from the structure of agriculture sector to industrial sector and rate of energy consumption of construction sector declined sharply. Resulting in an inefficient of energy use during this period. However the last sub-period was the most impacts in overall energy consumption changed by structure effect and the intensity effect from the reduction of the energy industry such as non-metallic sub-sector cement products. The impact of the activity effect due to the increase in the gross domestic product of industrial food and beverages sub-sector. It can be predicted that the trends of increasing energy efficiency from non-metallic sub-sector primarily in the next period. It was found that commercial sector, the impact of the structure effect over the intensity effect increased by the share of the gross domestic product, thus reducing the intensity effect down. As well as the increase of the gross domestic product due to the hotel sub-sector. It can be predicted that the trends of the energy efficiency of the trade increase next year as well. Moreover it also concluded that although the optimization of the energy sector of the country is difficult. However, the energy conservation law, with a concentration of high energy-intensive products such as cement of non-metallic sub-sector even more strictly. The sanctions clearly can contribute to energy efficiency and sustainable future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้าของประเทศไทย โดยเทคนิคการสลายเชิงแจกแจงen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Energy Use in Industrial and Commercial Sectors of Thailand by Decomposition Techniqueen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้าของประเทศไทย โดยใช้วิธีการสลายเชิงแจกแจง ดัชนี LMDI I ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน 3 ปัจจัย คือ ผลกระทบจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน (Activity Effect) ผลกระทบจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structure Effect) และ ผลกระทบจากการความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (Intensity Effect) โดยใช้ข้อมูลการใช้พลังงานของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา พ.ศ.2533-2557 พิจารณาเกณฑ์ในการแบ่งช่วงระยะเวลาที่ศึกษา ออกเป็น 4 ช่วงเวลา ตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และช่วงเวลาของการคุ้มครองของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดความง่ายในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2533-2540 ช่วงเฟื่องฟูก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนมี พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) คุ้มครอง ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2540-2550 ช่วงเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) คุ้มครอง ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2550-2553 ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อของ พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) ไปยัง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550) และช่วงที่ 4 พ.ศ. 2553-2557 ช่วงปัจจุบัน ซึ่งเกิดวิกฤตทางการเมือง และมี พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับที่ 2 คุ้มครอง ผลของการศึกษาพบว่า ทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศ เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นในการใช้พลังงาน ซึ่งในช่วงที่ 1 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และความเข้มข้นในการใช้พลังงานมากที่สุด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงเกิดอัตราการใช้พลังงานของภาคการก่อสร้างที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับในช่วงที่ 4 เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานโดยรวมมากที่สุด โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นในการใช้พลังงาน และ โครงสร้างทางเศรษฐกิจมากที่สุด จากการลดลงของความเข้นข้นในการใช้พลังงานของภาคอุตสาหกรรมย่อย อโลหะ เช่น ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับการเกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของอุตสาหกรรมย่อย อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ซึ่งจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาต่อไป เกิดจากอุตสาหกรรมย่อย อโลหะ เป็นหลัก สำหรับภาคธุรกิจการค้า เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นในการใช้พลังงาน โดยเกิดการเพิ่มสัดส่วนของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จึงเกิดการลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลง รวมไปถึงเกิดการเพิ่มขึ้นของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เนื่องมาจากภาคธุรกิจการค้าย่อย โรงแรม เป็นหลัก ซึ่งจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจการค้า เพิ่มมากขึ้นปีต่อไปเช่นกัน นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของภาคเศรษฐกิจประเทศไทยจะเป็นสิ่งที่ยาก อย่างไรก็ตามการออกกฏหมายควบคุมการใช้พลังงานในภาคเศรษฐกิจที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากซีเมนต์ ของอุตสาหกรรมย่อยอโลหะ ฯลฯ อย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น โดยการกำหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน เป็นต้น จะสามารถช่วยให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนได้ในอนาคตen_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)176.7 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 227.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS3.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.