Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46133
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลวดี อภิชาติบุตร-
dc.contributor.advisorบุญพิชชา จิตต์ภักดี-
dc.contributor.authorจันทร์จิรา หาญศิริมีชัยen_US
dc.date.accessioned2018-04-20T09:00:38Z-
dc.date.available2018-04-20T09:00:38Z-
dc.date.issued2558-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46133-
dc.description.abstractNursing handover is an important process involving the transferal of patient information to ensure continuing care. The purpose of this developmental study was to improve the quality of nursing handover in a gynecology ward at Lampang Hospital using the FOCUS PDCA quality improvement process. The improvement process consisted of nine steps: find a process to improve; organize a team that knows the process; clarify current knowledge of the process; understand causes of process variation; select the process improvement; plan; do; check; and act to hold gains and to continue improvement (Deming as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999). The study population included eight registered nurses. The research instruments were an interview guideline and an observation checklist regarding the practice of nursing handover. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. Results revealed that after the development, registered nurses could correctly and completely perform more than 75.00% of nursing handover processes. Problems of quality improvement included a long handover period and a lack of nursing handover preparation. Registered nurses were satisfied with the quality development process because of good and continuing patient care and a systematic nursing handover procedure. This study showed that using the FOCUS PDCA quality improvement process and SBAR method is an effective and useful method for improving nursing handover. Nursing administrators can use these methods to improve the quality of nursing handovers in other units.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectหอผู้ป่วยนรีเวชกรรมen_US
dc.subjectโรงพยาบาลลำปางen_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำปางen_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Nursing Handover in a Gynecology Ward, Lampang Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc610.73677-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลลำปาง-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลจักษุวิทยา-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาล -- การบริหาร-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 610.73677 อ174ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการรับส่งเวรทางการพยาบาลเป็นกระบวนการสำคัญในการส่งต่อข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการดูแลที่ต่อเนื่อง การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำปางโดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพโฟกัส พีดีซีเอ(FOCUS PDCA) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนได้แก่ ค้นหากระบวนการที่ต้องการปรับปรุง สร้างทีมงานที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการ ทำความเข้าใจสาเหตุของความแปรปรวนในกระบวนการ เลือกวิธีการปรับปรุงกระบวนการ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบและยืนยันการดำเนินการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Deming as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบสังเกตการปฏิบัติการรับส่งเวรทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการพัฒนา พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาลได้ถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 75.00 ปัญหาของการพัฒนาคุณภาพคือ ใช้เวลาในการรับส่งเวรทางการพยาบาลนาน และขาดการเตรียมตัวในการรับส่งเวรทางการพยาบาล พยาบาลมีความพึงพอใจในการกระบวนการพัฒนาคุณภาพเนื่องจากการดูแลผู้ป่วยที่ดีและต่อเนื่อง และมีกระบวนการรับส่งเวรที่เป็นระบบ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพโฟกัส พีดีซีเอ ร่วมกับหลักการเอสบาร์ (SBAR) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการรับส่งเวรทางการพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำแนวทางดังกล่าว ไปปรับปรุงคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหน่วยงานอื่นต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)171.2 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract162.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS3.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.