Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46089
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รุ่งฉัตร ชมภูอินไหว | - |
dc.contributor.author | วาทินี แสนศรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-17T02:14:26Z | - |
dc.date.available | 2018-04-17T02:14:26Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46089 | - |
dc.description.abstract | The objective of this independent study is to reduce the defective parts for cleaning process of the light sensors using six sigma techniques. The research procedures began from define phase, the flow diagram of production line was created with the starting point until the end of production process. In the measurement phase, the measuring system was analyzed by gage repeatability and reproducibility (GR&R) the operators related in the section of cleaning to separate the parts between adherent parts and good parts. Then the data form was created to record the data of adherent the light sensors parts after cleaned. The recorded data used for control chart’s limitation calculation before improvement by the p chart. In the analysis phase, a fishbone diagram was used to enumerate the causes of adherent parts. The study continued in finding the suitable container to collect cleaner solutions which prolong the efficiency of cleaner solution. The experimental results indicated that the most suitable container is beakers compared to stainless-based and polyethylene plastic. Experimental comparison between covered and uncovered beaker used in solution collection was conducted. The results shown that the covered beaker has more capability to maintain solution’s efficiency, the ratio of silicon is 19.770%. Moreover, the suitable time consumed in each sub-step of cleaning process was studied. The experimental designed using full factorial with 3 factors and 2 levels, i.e. factor A is the cleaner solution dipping time, factor B is the DI water dipping time and factor C is the IPA solution dipping time. We found that the only one factor affected to the proportion of the light sensors part adhesiveness is cleaner solution dipping time. Then, study of optimal conditions of the suitable time for cleaning process, the suitable time was defined as 18 minutes for cleaner solution dipping time, 10 minutes for DI solution and 25 minutes for IPA, the results were confirmed by re-experiment. In the improvement phase, the experimental methods from analysis step were conducted for improvement and the results shown the reduction of adherent defective parts 0.890%, the time usage was reduced from 1.30 hours to 1.13 hours and the proportion of adherent the light sensors defective parts were controllable. The final phase is control, provided the operators training for understanding in new improved operations and standardized these operations. Besides, the supervisory was increased with the protection of problem duplication using slide test to entrap the adherent parts as other step after checked by operators. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การลดชิ้นส่วนบกพร่อง | en_US |
dc.subject | การทำความสะอาด | en_US |
dc.subject | เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า | en_US |
dc.title | การลดชิ้นส่วนบกพร่องในกระบวนการทำความสะอาดชิ้นส่วนตรวจจับแสงสว่าง โดยใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า | en_US |
dc.title.alternative | Defective Parts Reduction for Cleaning Process of the Light Sensors Using Six Sigma Technique | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 658.562 | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการผลิตภัณฑ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | การควบคุมคุณภาพ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 658.562 ว243ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาชิ้นส่วนบกพร่องชนิดติดกันในกระบวนการทำความสะอาดชิ้นส่วนตรวจจับแสงสว่าง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกมา เริ่มจากการกำหนดปัญหา โดยจัดทำแผนผังการไหลของกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มการผลิตจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต ต่อมาในขั้นตอนการวัด ได้ทำการวิเคราะห์ความแม่นยำของกระบวนการวัด (Gage R&R) ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการแยกแยะชิ้นส่วนงานระหว่างชิ้นส่วนงานที่ติดกันกับชิ้นส่วนงานที่ไม่ติดกัน และศึกษาความสามารถของกระบวนการทำความสะอาดโดยนำใบบันทึกข้อมูลมาใช้ เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการหลังผ่านกระบวนการทำความสะอาดและนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณขีดจำกัดควบคุมก่อนการปรับปรุงโดยใช้แผนภูมิควบคุมสัดส่วนของเสีย (p Chart) ต่อมาในขั้นตอนการวิเคราะห์ ได้นำแผนภูมิก้างปลามาใช้เพื่อแจกแจงสาเหตุของปัญหาหลังจากนั้นไปศึกษาภาชนะที่เหมาะสมที่ใช้ในการเก็บน้ำยากำจัดคราบกาว โดยที่ภาชนะชนิดนั้นสามารถทนต่อการกัดกร่อนและต้องรักษาประสิทธิภาพของน้ำยาให้ใช้งานได้นานที่สุด พบว่า บีกเกอร์เป็นภาชนะที่เหมาะสมที่สุด เมื่อเทียบกับสเตนเลสและโพลีเอทีลีน ต่อมาได้ทำการทดลองเปรียบเทียบการจัดเก็บน้ำยากำจัดคราบกาวในภาชนะบีกเกอร์ที่ปิดฝาและเปิดฝา พบว่า ภาชนะบีกเกอร์ที่ปิดฝาหลังการใช้งานทุกครั้งสามารถเก็บรักษาประสิทธิภาพของน้ำยากำจัดคราบได้นานกว่า โดยค่าเปอร์เซ็นต์ซิลิกอนที่วัดได้คือ 19.770% และนอกจากนี้ยังได้ศึกษาเวลาที่เหมาะสมที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนย่อยในกระบวนการทำความสะอาดโดยใช้การออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลแบบเต็มจำนวน ที่ 3 ปัจจัย 2 ระดับ โดยปัจจัยทั้ง 3 ได้แก่ ปัจจัย A เป็นเวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำยากำจัดคราบกาว ปัจจัย B เป็นเวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำ DI และปัจจัย C เป็นเวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำยา IPA พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนการติดกันของชิ้นส่วนตรวจจับแสงสว่างมีเพียงปัจจัยเดียวคือ ปัจจัย A เวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำยากำจัดคราบกาว หลังจากนั้นได้ทำการหาเวลาที่สภาวะเหมาะที่สุดของปัจจัย ผลที่ได้คือ เวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำยากำจัดคราบกาวจาก 18 นาที เวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำ DI 10 นาทีและเวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำยา IPA เป็น 25 นาที แล้วทำการทดลองเพื่อยืนยันผล ต่อมาในขั้นตอนการปรับปรุงได้ใช้แนวทางที่ได้จากการทดลองในขั้นตอนการวิเคราะห์ มาใช้ในการปรับปรุงการทำงานจริงพบว่า ค่าสัดส่วนชิ้นส่วนงานบกพร่องชนิดติดกันลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง เท่ากับ 0.890% โดยที่ค่าสัดส่วนแต่ละล็อตอยู่ภายใต้สภาวะควบคุม อีกทั้งยังสามารถลดเวลาในกระบวนการทำความสะอาดชิ้นส่วนตรวจจับแสงสว่างจาก 1.30 ชั่วโมง เป็น 1.13 ชั่วโมงด้วย และขั้นตอนสุดท้ายคือ การควบคุม ซึ่งในขั้นตอนนี้ได้จัดอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใหม่ที่ได้ทำการปรับปรุง และจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standardization) ต่อไป นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำด้วยการใช้สไลด์เทส (Slide Test) เพื่อดักจับชิ้นส่วนงานที่ติดกันอีกขั้นตอนหนึ่งหลังจากที่พนักงานทำการตรวจสอบ | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 181.18 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 183.86 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
full.pdf | Full IS | 6.02 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.