Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิระศักดิ์ สาระรัตน์-
dc.contributor.authorกรรณิการ์ ชมภูศรีen_US
dc.date.accessioned2018-04-10T04:18:08Z-
dc.date.available2018-04-10T04:18:08Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46072-
dc.description.abstractThe purpose of this qualitative study is to explore participation of the Audience Council in the Thai Public Broadcasting Service (Thai PBS) and its effects. Documentary study, participant observation and in-depth interview are the main collecting data methods. The key informants are: ten purposively selected members of the Audience Council, three members of Board of Governor, one member of Executive Board, and four staffs of Thai PBS. The research was conducted from May to December 2014. The study shows that the Audience Council that works on behalf of viewers and listeners has performed its five legally assigned tasks completely: 1) monitoring the broadcasting programs, sharing the ideas among the members and formulating the agenda of the council meeting 2) arranging the participation process to collect feedbacks and suggestions from audiences in all regions of the country every three months 3) setting up and extending the "Friend of Thai PBS Network" throughout the country 4) preparing quarterly report composed of the comments and suggestions of audiences in all regions of the country 5) reporting the experience gained from annual working and providing recommendations to the Board of Governor and the Executive Board. The study reveals that the Audience Council emphasized working on the tasks 2 and 4 since they involves the proposal for program content improvement, the proposal for implementation adjustment and the policy recommendation. Participation of the Audience Council affects the Thai PBS in three folds. First, effects on policy: the proposal of the Audience Council corresponds to the policy of Thai PBS, namely participation of members, a sense of belonging among the public, access to public media, policy on news reporting and programs, policy on database of educational media, and personnel management policy. Second, effects on implementation: News programs have been changed to be more indepth. News reporting from locality have been increased in time of broadcasting. Regional center for news reporting has been set up. Citizen journalists have been trained to improve their contents and methods of presentation. The capability and identity of Thai PBS's staffs have been built up to reflect more vividly its position of public media. This is also the case for the participation of a variety of organizations from every sector. Third, effects on program format and content: The theme of Thai PBS programs have been guided by the Audience Council. These themes are anti-corruption, environment related disaster, ASEAN Economic Community, political and social reform, and deep south crisis. These contents had been presented to public through news programs and other programs related to news. The important finding is that participation of the Audience Council opens a new dimension of cooperation between active audience and national mass media. This opens up space where citizen can actively participate in mass media affairs. It, therefore, reflects participatory democracy in mass media. This participation has four characteristics: participation as message receiver, participation as operator, participation as policy maker, and participation in evaluation process. The only exception is participation in decision making. This high level of consciousness in participation and a sense of belonging leading to high expectation towards the role of public media would easily put the TPBS under pressure and create a condition of "interference in media ". This study suggests that the Audience Council, the Board of Governor and the Executive Board have to learn to working together, to cooperate horizontally using two-way communication, and respect the role of each partner in moving forward Thai PBS to reach its vision: the high quality public media institution that strives to promote a just and an informed society. Moreover, new approaches to gather comments and suggestions from viewers and listeners and develop high quality proposal should be continuously developed.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectสภาผู้ชมen_US
dc.subjectผู้ฟังรายการen_US
dc.subjectองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการที่มีต่อ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeParticipation of the Audience Council in Thai Public Broadcasting Service (Thai PBS)en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc384.54-
thailis.controlvocab.thashการกระจายเสียง-
thailis.controlvocab.thashการสื่อสาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน-
thailis.manuscript.callnumberว 384.54 ก177ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการที่มีผลต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และผลของการมีส่วนร่วมของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการที่มีต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย เลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง คือ สมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ จำนวน 10 คน กรรมการนโยบาย 3 คน กรรมการบริหาร 1 คน และบุคลากรของ ส.ส.ท. จำนวน 4 คน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม พ.ศ.2557 ผลการศึกษา พบว่า สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจ 5 ด้านดังนี้ 1) เฝ้าติดตามรับชมและรับฟังรายการจากทุกสื่อขององค์การ และนำข้อคิดเห็นมาหารือแลกเปลี่ยนในระหว่างสมาชิก 2) จัดให้มีกระบวนการกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อรายการของส.ส.ท. และข้อเสนอแนะจากประชาชนในภูมิภาคและเครือข่ายทุกไตรมาส 3) จัดให้มีการสร้างและขยายเครือข่าย “เพื่อนสื่อสาธารณะ” ทั่วประเทศ 4) จัดทำรายงานที่มีผลมาจากการรวบรวมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในภูมิภาคและในวงกว้างในทุกไตรมาส พร้อมทั้งรวบรวมเป็นรายงานประจำปี เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการนโยบาย 5) จัดทำรายงานประจำปี ที่ถอดบทเรียนการทำงานในรอบปี พร้อมข้อเสนอแนะที่มีเหตุผลสนับสนุนนำเสนอคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการนโยบาย จากการศึกษาพบว่า สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการให้ความสำคัญกับภารกิจตามบทบาทที่กฎหมายกำหนดแต่ให้น้ำหนักในการดำเนินการตามภารกิจข้อที่ 2,4 อย่างเข้มข้นเนื่องจากเป็นการพัฒนาข้อเสนอให้กับกรรมการ ส.ส.ท. เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนารายการ การดำเนินงานและนโยบายขององค์การให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมและผู้ฟังรายการ การศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมส่งผลต่อ ส.ส.ท. ดังนี้ 1) ผลต่อนโยบายของ ส.ส.ท. ข้อเสนอของสภาผู้ชมผู้ชมและผู้ฟังรายการสอดคล้องกับนโยบายของ ส.ส.ท. สอดคล้องคือ ด้านการมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงสื่อสาธารณะ นโยบายด้านข่าวและรายการ นโยบายด้านฐานข้อมูล นโยบายด้านบุคลากร 2) ผลต่อการดำเนินงานของ ส.ส.ท. ส่งผลให้กรรมการบริหารนำไปดำเนินการพัฒนาการดำเนินงานในด้านการพัฒนาแนวข่าว ส.ส.ท. ให้เจาะลึกรอบด้าน พัฒนาเนื้อหาเพิ่มเวลาพื้นที่ข่าวท้องถิ่นข่าวภูมิภาค พัฒนายกระดับศูนย์ข่าวภูมิภาค พัฒนารายการนักข่าวพลเมือง พัฒนาบุคลากรของ ส.ส.ท.ให้มีความรู้ทักษะสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นสื่อสาธารณะ และความร่วมมือกับองค์กรภาคีทุกภาคส่วน 3) ผลต่อการรูปแบบเนื้อหารายการ ข้อเสนอของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการส่งผลต่อการประเด็นสำคัญหลัก(Thematic) เนื้อหาของ ส.ส.ท. คือประเด็นทุจริตคอรัปชั่น สิ่งแวดล้อมภัยพิบัติ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การปฏิรูป และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเนื้อหาปรากฏผ่านประเภทรายการของ ส.ส.ท.โดยเฉพาะรายการข่าวและรายการที่เกี่ยวเนื่องกับข่าว เป็นต้น ข้อค้นพบสำคัญคือการมีส่วนร่วมของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการกับ ส.ส.ท. เป็นการเปิดมิติใหม่ของการทำงานร่วมระหว่างผู้ชมที่มีความกระตือรือร้น (Active Audience) และสื่อมวลชนขนาดใหญ่ (Mass Media) ที่เปิดพื้นที่โอกาสให้พลเมืองได้เข้าไปมีส่วนร่วมในสื่อส่งเสริมให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในสื่อ ทั้งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สื่อสารสองทางระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร การดำเนินงานของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการรุ่นที่ 3 สะท้อนการมีส่วนร่วม 4 ลักษณะ คือ มีส่วนร่วมในการเป็นฐานะผู้รับสาร ผู้ปฏิบัติการ ผู้ร่วมกำหนดนโยบาย และผู้ร่วมในการประเมินผล ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และจากการศึกษามีข้อค้นพบสำคัญ คือ สำนึกการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของสื่อสาธารณะของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการค่อนข้างสูง จึงคาดหวังต่อสื่อสาธารณะสูงเช่นกันจนอาจเป็นการกดดันนำไปสู่ภาวะ “การแทรกแซงสื่อ” ได้ง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ และกลไกต่างๆ ใน ส.ส.ท. ทั้งกรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร และฝ่ายผลิตต้องเรียนรู้เข้าใจบทบาทของแต่ละฝ่ายไม่นำไปสู่การข้ามเส้นแบ่งของบทบาทหน้าที่ของกันและกันพร้อมๆ กับต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนายกระดับ ส.ส.ท. ให้เป็นสื่อสาธารณะไปอย่างเป็นองคาพยพ สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ กลไกทั้ง 3 ฝ่ายของ ส.ส.ท. ทั้งสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ กรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร ต้องเรียนรู้และเข้าใจบทบาทของแต่ละฝ่ายด้วยความเชื่อมั่นในพลังของพลเมืองที่ต้องการเห็นสื่อที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการทำงานในระนาบเดียวกันด้วยการใช้กระบวนการสื่อสารสองทาง เพื่อให้ ส.ส.ท.เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสื่อสาธารณะ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการค้นหาแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อได้ข้อเสนอที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสื่อสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
Appears in Collections:MASSCOMM: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.docxAbstract (words)71.89 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 404.6 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS8.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.