Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46054
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อลงกรณ์ คูตระกูล | - |
dc.contributor.author | จารุพัฒน์ แดงเรือ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-09T09:40:42Z | - |
dc.date.available | 2018-04-09T09:40:42Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46054 | - |
dc.description.abstract | The research was studied about participation in public administration regarding water management. The objectives of research were to study the participation of Huay God Reservoir Water Users toward water management in this area, to describe the coordinate relationship between the government agency and Huay God Reservoir Water Users, and to specify the conditions of the relationship between activities and changes that had occurred with the water resource in this area by studying of official documents, interviewing, and observing the activities from 17 informants. The study of participation process of Huay God Reservoir Water Users Network in public administration with the government agency could deal with the needs of the community by coordinating the collaboration between the government agency that was responsible for water resource management and the network group. The study selected the phenomenon occurred in the area that contained water resource issues in both floods and disasters which occurred during the similar time. This area also had some buildings created and supported by the government agency with a large budget and this government agency also support about establishment of a network for the participation. The sample of the study was collected from the population in the area and studied of environment, factors, and beliefs which existed in the community to deal with their needs. The analysis of policy, plan, and project was set by the government agency with the performance and needs of the network group and also explained with the theories and the information from stakeholders regarding the regulations and guidelines for the activities of the network accordingly. The study found that there were the implementation under the policy, the concept, and the knowledge and it was the duty of the government to bring an understanding to those stakeholders by sending the staffs to provide the true information and offer opportunities for public participation in various patterns. The stakeholders were welcomed for taking part at all levels of participation such many as receiving and providing information, announcement or publicity, and basic data storage to support the implementation of the planned policy. It could make the network had more conscious and be aware of the problem that would happen in their own community and more cooperation activities in the area. The suggestions of this research were as follows: (1) the local agency should have the policy and the measure to promote the development of the network to be strengthened with an emphasis on participation of all activities follow the mission of agency(2) the government agency should have a policy to support the network of learning to manage the water crisis and providing opportunities for community and the network in sharing knowledge, experience, and management which can lead to a successful water crisis management in all areas (3) the local agency should enhance the concept and pushing the creation of dams to conserve soil and water base on the concept of the king to manage the water crisis in a sustainable way (4) taking the concept of participation of Huay God Reservoir Water Users to adapt with other activities in the area (5) implanting consciousness about participation and cooperation of the youth in the area and in all levels of the integration network such as schools, sub-groups in community, and the whole community (6) there should be the participation in process of needs analysis and planning for choosing the choices of activities to be conducted and sharing comments for achieving the consensus within the meeting to get a clear conclusion rather than believing in only the group leader. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การจัดการแหล่งน้ำ | en_US |
dc.subject | อ่างเก็บน้ำห้วยก้อด | en_US |
dc.subject | เครือข่ายผู้ใช้น้ำ | en_US |
dc.title | การมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งน้ำของเครือข่ายผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | The Participation in Water Source Management of Huay God Reservoir Water User Network, Rong Kho Subdistrict, Wang Nuea District, Lampang Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 333.91 | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการน้ำ -- วังเหนือ (ลำปาง) | - |
thailis.controlvocab.thash | อ่างเก็บน้ำ -- วังเหนือ (ลำปาง) | - |
thailis.controlvocab.thash | แหล่งน้ำ -- วังเหนือ (ลำปาง) | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 333.91 จ274ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารราชการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด ในการจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่ อธิบายความสัมพันธ์ด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด และระบุเงื่อนไขความสัมพันธ์ของกิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแหล่งน้ำในพื้นที่ โดยได้ศึกษาจากเอกสารทางราชการ และสัมภาษณ์พร้อมการสังเกตกิจกรรมจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 17 คน การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด ในการบริหารราชการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการกับปัญหาความต้องการของกลุ่มหรือชุมชน โดยการประสานความเริ่มมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ที่มีหน้าที่ด้านการบริหารจดการทรัพยากรน้ำ กับกลุ่มเครือข่าย ซึ่งเลือกจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาทรัพยากรน้ำทั้งทางด้านอุทกภัยและภัย ที่เกิดขึ้นใน ห่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในขณะที่มีสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในงบลงทุนด้วยงบประมาณจำนวนมาก และยังได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมดังกล่าวจากหน่วยงานเดียวกันนี้ โดยได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาและสำหรับจากสภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ปัจจัย ความเชื่อ ที่มีอยู่ของชุมชนในการจัดการกับปัญหาความต้องการของตนเอง และสามารถนำนโยบาย แผนงาน โครงการ ที่หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้กำหนด มาวิเคราะห์ร่วมกับผลการดำเนินงานและความต้องการของกลุ่มเครือข่าย ร่วมกับทฤษฏีและข้อมูลที่ได้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวระเบียบข้อบังคับและแนวทางการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายได้อย่างสอดคล้อง ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งน้ำของเครือข่ายผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง พบว่ามีการดำเนินการภายใต้นโยบาย แนวคิด ความรู้ และเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้น โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ข้อมูลที่เป็นจริง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆที่มีช่องทางให้ เพื่อให้ประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับของการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะ เป็นการรับรู้และให้ข้อมูลข่าวสาร ประกาศหรือเผยแพร่ หรือการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จะช่วยสนับสนุนการการดำเนินการในระดับวางแผนนโยบาย ทำให้กลุ่มเครือข่ายมีความใส่ใจและตระหนักในปัญหาความต้องการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทำให้เกิดความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะงานวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ (1) หน่วยงานท้องถิ่นควรมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมในพัฒนากลุ่มเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง โดยเน้นการมีส่วนร่วม ทุกกิจกรรมในภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน (2) หน่วยงานภาครัฐควรมีนโยบายในการเสริมสร้าง เครือข่ายการเรียนรู้ ในการจัดการวิกฤติน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนและเครือข่ายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และการบริหารจัดการนำไปสู่การจัดการวิกฤติน้ำที่ประสบความสำเร็จในทุกพื้นที่ตลอดทั้งระบบของแหล่งน้ำ (3) หน่วยงานท้องถิ่นควรเสริมสร้างแนวคิดและผลักดันให้มีการสร้างฝายเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้การจัดการวิกฤติน้ำในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน (4) นำรูปแบบแนวคิดทัศนคติการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้อด ไปปรับใช้กับกิจกรรมอื่นในพื้นที่ (5) การปลูกฝังค่านิยมจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมและการประสานความร่วมมือให้แก่เยาวชนในพื้นที่ ในทุกระดับของการรวมกลุ่มเครือข่าย ตั้งแต่ในระดับโรงเรียน กลุ่มย่อยภายในชุมชน ไปจนถึงการมีส่วนร่วมระดับชุมชน และ(6) กระบวนการมีส่วนร่วมเฉพาะในขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและการวางแผนเพื่อกำหนดทางเลือกกิจกรรมที่จะดำเนินการ ควรให้มีการเปิดโอกาสด้านการแสดงความคิดเห็นและจัดการให้เกิดมติภายในที่ประชุมเพื่อให้ได้ขอสรุปที่ชัดเจนทุกครั้ง มากกว่าการเชื่อในตัว ผู้นำกลุ่มเพียงอย่างเดียว | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 46 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 167.6 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
full.pdf | Full IS | 5.63 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.