Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorกัญญพร วณีสอนen_US
dc.date.accessioned2018-04-09T03:30:12Z-
dc.date.available2018-04-09T03:30:12Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46035-
dc.description.abstractThe study “Participation Process in Water Pollution Problem Solving of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities, Chiang Mai Province” aimed to 1) investigate and describe the participation process of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities, Chiang Mai Province, 2) examine and analyze factors affecting the participation process of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities, Chiang Mai Province in water pollution problem solving, and 3) study and explore the problems and obstacles in participation process of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities in solving water solution problems. This qualitative study employed documentary research, non-participant observation, in-depth interview, and survey methods. In addition, this research used purposive sampling which included 28 key informants: 6 community leaders, 16 Natural Resources and Environment committee members and 6 members from offices related to participation process in water pollution problem solving. The samples used in the survey of the opinions of the local people were 381 people which included 189 from Ban Thattum community and 192 from Ban Yang Phra That community. The main findings of the study were as follows. In terms of the participation process of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities, Chiang Mai Province, it was found that the community leaders had both formal and informal roles in mustering community participation in solving the existing water pollution problems and promoting high public awareness of both communities which created the collaboration between the communities. Moreover, the factors affecting water pollution problems were the private capitalists discharged wastewater into the water sources in the area, and the geography of the area was mid-water which was narrow and deep. The factors affecting the participation process of the people in water pollution problems were the strong community leaders, the awareness of the people in the public resources, and the use of local tradition and belief in creating activities to promote the participation of the communities. For the problems and obstacles in participation process of Ban Thattum and Ban Yang Phra That Communities in solving water solution problems, it was found that the main problems were insufficient budgets, geography of the area being narrow and deep river, lack of participation from some groups of people, the water usage control of other communities upstream, and different practices of sectors providing assistance to the communities. Finally, it could be suggested that related public sectors should pay attention to the solving of natural resource problems more seriously, especially budget and knowledge supports. This would promote the participation of the people in the local communities and other communities benefited from the water resources. It would also prevent possible conflicts. At the same time, the local administrative organizations should have legal and practical roles in looking after the public resources with the people in the communities and mustering community participation by extending Maekuang basin community network to collaborate in sustainably solving water pollutions problems.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระบวนการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectมลภาวะทางน้ำen_US
dc.subjectบ้านท่าทุ่มen_US
dc.subjectบ้านยางพระธาตุen_US
dc.titleกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำของประชาชนในชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeParticipation Process in Water Pollution Problem Solving of Ban Thathum and Ban Yang Phra That Communities,Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc363.7394-
thailis.controlvocab.thashมลพิษทางน้ำ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashชุมชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 363.7394 ก113ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำของประชาชนในชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและอธิบายกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุจังหวัดเชียงใหม่ในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำร่วมกัน 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค ในกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำร่วมกัน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยวิธีการวิจัยเอกสาร วิธีการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการใช้วิธีวิจัยแบบสำรวจ ซึ่งในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purposive Sampling)โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก(Key Informant) ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน คณะกรรมการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลำน้ำแม่กวง จำนวน 16 คนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำ จำนวน 6 คน จำนวนทั้งสิ้น 28 คนสำหรับวิธีการสำรวจได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนบ้านท่าทุ่ม จำนวน 189 คน และในชุมชนบ้านยางพระธาตุ 192 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 381 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุจังหวัดเชียงใหม่นั้น ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมีบทบาทสำคัญในการระดมการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดขึ้นและประชาชนทั้งสองชุมชนมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมสูงจึงทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน ปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ปัญหามลภาวะทางน้ำ คือ นายทุนเอกชนปล่อยน้ำเสียในพื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พื้นที่เป็นช่วงกลางน้ำ มีลำน้ำแคบและลึก ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำร่วมกัน ได้แก่ ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง จิตสำนึกของประชาชนที่มีต่อทรัพยากรส่วนรวม การใช้วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อของชุมชนมาร่วมสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าทุ่มและบ้านยางพระธาตุในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำร่วมกันที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านงบประมาณที่ไม่เพียง ลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ลำน้ำแคบและลึก ขาดความร่วมมือของประชาชนบางส่วน การควบคุมการใช้น้ำของชุมชนอื่นๆ ที่อยู่เหนือลำน้ำ แนวทางในการปฏิบัติที่แตกต่างกันของหน่วยงานที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือชุมชน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการแก้ไข ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสนับสนุนทั้งในส่วนของงบประมาณและองค์ความรู้มากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ชุมชนอื่นที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีบทบาททั้งทางกฎหมายและทางปฏิบัติในการดูแลทรัพยากรส่วนรวมร่วมกับประชาชนในชุมชน และสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนโดยการขยายเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำแม่กวงทั้งสายเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำได้อย่างยั่งยืนen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT183.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX376 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1244.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2453.4 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3248.42 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 42.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5328.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT388.11 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER477.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE159.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.