Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนียา เจติยานุกรกุล-
dc.contributor.authorสรายุธ รอบรู้en_US
dc.date.accessioned2018-04-04T08:45:33Z-
dc.date.available2018-04-04T08:45:33Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45994-
dc.description.abstractThis thesis is study about the conservation and developing management for inheritance cultural indentity of Lanna Pi Phat ensemble in Chiang Mai province. The aims of this study are historical study, factor, quality and worthy of Lanna Pi Phat ensemble as well as situation and problem in case selected ensembles. These are for the other Lanna Pi Phat ensembles to know how to develop themselves. The research analyzes through a qualitative approach, as well as, unstructured interviewing and ethnomusicological approach. The study revealed that: Lanna Pi Phat is called in local northern language that “Pad Kong” or “Wong Pad” which are two instruments such as gamelan and gong. Pad Kong was an ancient Lanna musical instrument which related to Lanna history according to the historically inscribed evidence, Chiang Mai local legend, culture, belief and ritual. There is original constituent of instrument and characterization. The development of Thai instrument from central of Siam; the king’s household, effects to ensemble form through the residence of prince in the north of Thailand (KumLaung) nowadays. Since the prosperity and economic growth, the expansion from central to suburb, make the way of life in Chiangmai changes which effect to customs, traditions, arts and cultures including Lanna Pi Phat ensembles adjustment. Some ensembles are preservative and unacceptable development of applying contemporary, lack of knowledge organization, mixing instruments, technique and music presentation. Since there is no development for responding to any listeners and employers, it may not favor, effect to quantity of employment and decrease income. So these ensembles cannot stand and chance going out of business. Researcher offers format and the management of Lanna Pi Phat ensembles conservation and development for cultural identity following into 2 parts. First is for the conservation of Lanna Pi Phat ensembles by original music instruments remaining and also local music that means to identity sound of Lanna music. Second is for the development of Lanna Pi Phat ensembles, which adaptation of music presentation such as setting of ensemble, style of performance, musical style and tuning systems, to be contemporary.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectวงปี่พาทย์พื้นเมืองล้านนาen_US
dc.subjectอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมen_US
dc.titleการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปี่พาทย์พื้นเมืองล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeConservation and Management Development for Preservation of the Cultural Identity of the Lanna PiPhat Ensemble in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc780.9593-
thailis.controlvocab.thashปี่พาทย์-
thailis.controlvocab.thashเครื่องดนตรีไทย -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์วัฒนธรรม -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 780.9593 ส172ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปี่พาทย์ล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ คุณลักษณะ และคุณค่าของวงปี่พาทย์ล้านนา รวมทั้งศึกษาสภาพการณ์และวิเคราะห์ปัญหาของการดำเนินการของวงปี่พาทย์ล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอเป็นตัวอย่างรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปี่พาทย์ล้านนาเพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม สำหรับวงปี่พาทย์ล้านนาอื่นๆ ทำการศึกษาโดยวิธีการเก็บข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแนวความคิดทางมานุษยดนตรีวิทยา ผลการศึกษาพบว่า วงปี่พาทย์ล้านนามีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นภาคเหนือว่า “ป้าดก๊อง” หรือ “วงป้าด”หมายถึงเครื่องดนตรีสองชนิด คือ “ระนาดและฆ้อง” ซึ่งปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันแสดงถึงการดำรงอยู่ในดินแดนล้านนามาช้านาน และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิต ประเพณี พิธีกรรมความเชื่อของผู้คนในดินแดนล้านนา องค์ประกอบและคุณลักษณะของวงปี่พาทย์ล้านนามีรูปแบบการประสมวงของเครื่องดนตรีที่มีมาแต่ดั่งเดิม ต่อมามีพัฒนาการโดยการประสมวงรูปแบบวงดนตรีไทยภาคกลาง ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลดนตรีจากราชสำนักสยามผ่านคุ้มหลวงเชียงใหม่และเข้าสู่สังคมชุมชนเชียงใหม่จนเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทำให้บริบททางสังคมของจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนแปลง การขยายตัวจากสังคมเมืองสู่นอกเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนตลอดถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมเชียงใหม่รวมถึงวัฒนธรรมวงดนตรีปี่พาทย์ล้านนาจึงต้องปรับตัวให้สามารถอยู่รอดในสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วงปี่พาทย์ล้านนาบางคณะยังมีรูปแบบดั้งเดิม ไม่เปิดรับการพัฒนาวงในรูปแบบของการประยุกต์ ขาดการจัดการองค์ความรู้และพัฒนาในส่วนของการประสมวง เทคนิคและบทเพลงที่ใช้ในการบรรเลง เมื่อไม่สามารถพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ฟังและผู้ว่าจ้าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่ได้รับความนิยม ส่งผลต่อปริมาณงานและรายได้ที่น้อยลง จนไม่สามารถดำรงอยู่และเสี่ยงต่อการล้มเลิกวงไป ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปี่พาทย์ล้านนาเพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เป็น 2 ส่วน คือ การจัดการอนุรักษ์วงปี่พาทย์ล้านนาโดยใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองในวงปี่พาทย์ล้านนาทุกเครื่องมือ รวมถึงบทเพลงพื้นเมืองทั่วไปและบทเพลงพื้นเมืองที่ใช้ประกอบพิธีกรรม เพื่อคงสำเนียงเสียงทางดนตรีที่เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนา และการจัดการพัฒนาวงปี่พาทย์ล้านนาโดยนำเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมประยุกต์ มีการจัดวางองค์ประกอบของเครื่องดนตรีตามคุณลักษณะและศักยภาพของเครื่องดนตรีนั้น ๆ พัฒนาทางเทคนิคการบรรเลง การเรียบเรียงบทเพลงและกำหนดบทเพลงที่ใช้ในการบรรเลงให้ร่วมสมัยมากขึ้นen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT226.78 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX399.18 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1274.53 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.59 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3311.08 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4711.64 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 51.55 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6417.25 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT321.33 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER622.06 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE290.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.