Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45935
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา ภิญโญคำ-
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช-
dc.contributor.authorธัญญารัตน์ บุญโทยen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T07:53:13Z-
dc.date.available2018-03-26T07:53:13Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45935-
dc.description.abstractFatigue and a decreased functional capacity among persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis are the most common problems. Exercise can relieve such problems. Chair aerobic exercise may be beneficial to this population. This quasi-experimental research study aimed to examine effects of chair aerobic exercise on fatigue and functional capacity among persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis. Subjects were persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis at Kawila Hospital and Theppanya Hospital, Chiang Mai, Thailand from December, 2013 to April, 2014. Thirty-four subjects were purposively selected and assigned into the control or experimental groupbased on their hemodialysis schedule, with 17 participants in each group. Subjects in the control group received routine care whereas, those in the experimental group participated in chair aerobic exercise for 12 weeks. Research instruments consisted of: 1) the chair aerobic exercise DVD and handbook, 2) the demographic data recording form, 3) Borg’s scale record form, 4) the Revised Piper Fatigue Scale (Piper et al., 1998) adapted and translated by Pritsanapanurungsie (2000), and 5) the 6 minute walk test record form. The data were analyzed using descriptive statisticsand t-test.   The results revealed that: 1. The fatigue meanscore of persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis after performing chair aerobic exercise was significantly lower than those who received usual routine care (p< .001). 2. The fatigue meanscore of persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis after performing chair aerobic exercise was significantly lower than before initiating exercise (p < .001). 3. The functional capacity mean score of persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis after performing chair aerobic exercise was significantly higher than those who received usual routine care (p < .001). 4. The functional capacity mean score of persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis after performing chair aerobic exercise was significantly higher than before initiating exercise (p < .001). Study results demonstrated that chair aerobic exercise could be useful for reducing fatigue and increasing functional capacity among persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis. Therefore, chair aerobic exercise is suggested as an appropriate exercise for this population.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการออกกำลังกายen_US
dc.subjectแอโรบิคen_US
dc.subjectโรคไตเรื้อรังen_US
dc.subjectการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมen_US
dc.titleผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ต่อความเหนื่อยล้าและ ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมen_US
dc.title.alternativeEffects of Chair Aerobic Exercise on Fatigue and Functional Capacity Among Persons with Chronic Kidney Disease Receiving Hemodialysisen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddcW 4-
thailis.controlvocab.meshExercise-
thailis.controlvocab.meshFatigue-
thailis.controlvocab.meshHemodialysis-
thailis.controlvocab.meshKidney diseases-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ธ213ผ 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความเหนื่อยล้าและการลดลงของความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย การออกกำลังกายจะช่วยลดปัญหานี้ลงได้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้จึงอาจจะมีประโยชน์ในประชากรกลุ่มนี้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ต่อความเหนื่อยล้าและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม ณ หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลค่ายกาวิละ และโรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ถึง เดือนเมษายน 2557 จำนวน 34 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยจับฉลากตามวันที่มารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจากทั้งสองโรงพยาบาลเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 17 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองออก กำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) วิดิทัศน์และคู่มือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการรับรู้ความเหนื่อยของบอร์ก 4) แบบประเมินความเหนื่อยล้าของ ไปเปอร์ และคณะ ฉบับปรับปรุง (Piper et al., 1998) ซึ่งดัดแปลงและแปลโดย ปิยวรรณ ปฤษณภาณุรังษี (Pritsanapanurungsie, 2000) และ 5) แบบบันทึกระยะทางที่สามารถเดินบนพื้นราบได้ในเวลา 6 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้น้อยกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 3. ค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 4. ค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้มากกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้สามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าและเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงเสนอแนะให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายในประชากรกลุ่มดังกล่าวen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT167.7 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX851.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1211.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2623.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3232.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4411.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5170.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT146.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER587.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE384.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.